wanderfulminds

When you wonder, your mind wanders, and you realize how wonderful everything is

  • Home
  • Stories & Guides
  • Facts & Tips
  • Brains & Minds
  • Languages
  • Education
  • Hire me!
  • Contact
You are here: Home / Archives for KaiMook McWilla Malany

แนะนำทุนรัฐบาลเกาหลี KGSP ระดับปริญญาโท-เอก (4): โดยรุ่นพี่สายวิทย์

September 23, 2016 By KaiMook McWilla Malany Leave a Comment

 

หลังจากประสบการณ์สมัครทุนรัฐบาลเกาหลี จาก เพื่อนสาวแอ๊ม (คลิกตอนแรกที่นี่) คราวนี้มากับอีกหนึ่งคน “ป็อป” ค่ะ ป็อป ผู้นอกจากจะป็อปสมชื่อ ยังมีความสามารถด้านวิชาการที่ป็อปไม่แพ้กัน ป็อปได้ทุนไปเรียนที่ประเทศเกาหลีรุ่นเดียวกันกับ แอ็ม ปี พ.ศ. 2016 สายวิทยาศาสตร์ จะมาบอกเล่าอะไรบ้าง อ่านกันเล้ย! –>

 

ป็อป: ทุนรัฐบาลเกาหลีปี 2016

“สวัสดีครับทุกคน เราชื่อ ป๊อบ นะ ได้รับการชักชวนให้มาร่วมแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับทุนการศึกษาของรัฐบาลเกาหลี แต่จะมาพูดถึงในส่วนของฝั่งสายวิทยาศาสตร์กันบ้าง ซึ่งเอาจริงๆแล้วทั้งขั้นตอนการเตรียมใบสมัคร หรือกระบวนการสมัครนั้นเหมือนกับที่ แอ๊ม (อ่านประสบการณืตอนแรกของแอ๊ม คลิกที่นี่) ได้เขียนอธิบายไว้และละเอียดเป็นอย่างมาก (เชื่อเถอะว่าละเอียดชนิดที่ว่าอีกนิดนึงก็เหมือนมานั่งสมัครด้วยกันแล้ว) แต่ก็มีความแตกต่างๆเล็กน้อยที่เราอยากเล่าให้ทุกคนฟัง เผื่อจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย

แต่ก่อนอื่นขอแนะนำตัวแบบสั้นๆหน่อยดีกว่า อีกทีละกันนะเราชื่อ “ป๊อบ” เป็นหนึ่งในนักเรียนทุนจากประเทศไทยที่ได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลเกาหลีใต้ ปี2016 นี้ ซึ่งโดนสุ่มให้มาเรียนภาษาที่ Sunmoon university (อ่านว่า ซอนมุนเด้อ) อยู่เมืองชอนอัน ไม่ใกล้และไม่ไกลจากโซลเท่าไร และพอจบคอร์สภาษาที่นี่เราก็จะไปเรียนต่อปริญญาโทในสาขา Smart food and Drug ที่ Inje University อยู่เมืองกิมแฮซึ่งเป็นเมืองลูกของปูซานนั่นเอง ใครนั่งเครื่องมาลงปูซานก็แวะมาหาเราได้อยู่ใกล้ๆสนามบินสุดๆ เอาหล่ะก่อนจะออกทะเลมาเข้าเรื่องกันดีกว่าก็คือ จะขอพูดในสิ่งที่มันแตกต่างกันไประหว่างสายศิลป์และสายวิทย์ละกันเนอะ

ข้อแรกเลย อย่างที่น่าจะรู้กันคร่าวๆบ้างแล้วว่า การสมัครทุนนี้สามารถสมัครได้ 2 ช่องทาง คือ สายสถานทูต กับ สายมหาวิทยาลัยโดยตรง ซึ่งโควตาของปีนี้ให้ทางสายมหาวิทยาลัยคือ 9 คน ซึ่งในจำนวน 9 คนนี้ แบ่งเป็นเงื่อนไขพิเศษ 2 คน สำหรับผู้สมัครที่เลือกเรียนในสาขา Engineering และ Life Science โดยมหาวิทยาลัยที่เลือกเรียนต้องอยู่ในรายการของมหาวิทยาลัยที่เป็น Non-region ด้วยนะ ซึ่งมหาวิทยาลัยและสาขาที่เราเลือกเรียนนั้นอยู่ตามในลิสท์นี้ทั้งหมด แต่ก็ไม่สามารถตอบได้ว่าตัวเองเป็นคนที่อยู่ในกลุ่มเงื่อนไขนั้นไหม เพราะตอนประกาศผลออกมาเขาก็ไม่ได้แยกประเภทใดๆ แต่คิดว่าน่าจะเป็นทริคเล็กที่เพิ่มโอกาสในการได้ทุนไม่มากก็น้อย จริงๆการเรียนต่างจังหวัดก็ดีนะจะได้ไม่ขยันเที่ยว (เป็นงั้นไปอีก เอาเข้าจริงแล้วมันคือการปลอบใจตัวเอง 5555)

หมายเหตุ: แต่เราไม่ได้ชี้ทางให้ทุกคนเลือกมหาวิทยาลัยต่างจังหวัดแต่อย่างใดนะ เราแค่แนะนำซึ่งยังไงเวลาก่อนจะเลือกสมัครมหาวิทยาลัยใดๆ ก็ควรที่จะชั่งน้ำหนักปัจจัยต่างๆดูก่อน ค้นหาข้อมูลดูก่อนว่ามันเป็นอย่างไร และที่สำคัญมากถึงมากที่สุดก็คือ ควรติดต่อกับอาจารย์ทางฝั่งเกาหลีในมหาวิทยาลัยที่เราสนใจดูก่อน ว่าเขายินดีที่จะต้อนรับเราไหมและเราโอเคกับเขาไหม ซึ่งก็ประเมินกันคร่าวๆผ่านตัวอักษรที่คุยกันในอีเมล์นี่แหละ เพราะการไปเรียนต่อป.โท สิ่งที่สำคัญสุดๆอีกอย่างหนึ่งที่เราคิดคือ อาจารย์ที่ปรึกษา ถ้าเรากับที่ปรึกษาเข้ากันได้ คุยกันรู้เรื่อง ความคิดเห็นไปในทิศทางที่คล้ายๆกัน เราว่าการเรียนให้จบมันจะเรียบง่ายขึ้นเป็นอย่างมากเลย ซึ่งส่วนตัวที่เลือกเรียนที่ Inje University เพราะเมื่อสองปีก่อนเราเคยมาเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่นี่ และปีที่แล้วก็ได้มาฝึกงานที่นี่ด้วยเหมือนกัน จึงรู้สึกผูกพันและก็มั่นใจว่าถ้าเลือกเรียนที่นี่ยังไงก็ราบรื่น มีความสุขแน่ๆ (หวังว่าจะเป็นอย่างนั้นแหละเนอะทุกคน แหะๆ)

  • สายวิทย์กับสายศิลป์ต่างกันอย่างไร?

มาที่ ข้อต่อไปที่เห็นว่าแตกต่างกัน (อาจจะดูต่างกันไม่มากแต่ก็แอบต่างอยู่นะ) คือ ในเรื่องของเงินทุนในการสนับสนุนในการตีพิมพ์งานวิจัย ก็คือในส่วนของสาย Liberal art and Social science จะได้ 500,000 วอน ส่วนในสาย Engineering, Science and Technology จะได้ 800,000 วอน ซึ่งรายละเอียดยังไม่ทราบมากนัก แต่ความแตกต่างก็น่าจะประมาณนี้

ป็อป: ทุนรัฐบาลเกาหลีปี 2016

มาถึงเรื่องของคำแนะนำสำหรับการสมัครทุนนี้ โดยทุนรัฐบาลเกาหลีใต้นี้ หัวใจสำคัญๆเลย คือ

  • Statement of purpose มันเป็นอะไรที่สำคัญมากจริงๆทุกคนและท้าทายมากด้วยที่จะอธิบายข้อความลงไปใน 1 หน้ากระดาษ A4 แล้วทำให้กรรมการที่ไม่เคยรู้จักเรามาก่อนได้รู้จักตัวตนของเรา และสนใจเรา ซึ่งที่อยากจะแนะนำคือก่อนที่จะเริ่มเขียนลองลิสต์รายการดูก่อนก็ได้ว่าสิ่งใดที่เราอยากบอกเขา และมาจัดอันดับดูว่าข้อไหนที่จะทำให้กรรมการได้รู้จักเราและจะสนใจเรามากที่สุด และก็ใส่ความเป็นตัวเองลงไปอย่าไปเลียนแบบคนอื่นเลยเชื่อเรา ถ้าเป็นไปได้แอบเขียนหยอดในสิ่งที่มันดูเกี่ยวข้องกับประเทศเกาหลีและการเรียนของเราดุ เราคิดว่ามันก็น่าจะทำให้กรรมการสนใจเราไม่มากก็น้อยนะ อย่างของเราเรียนสายอาหารและโภชนาการ เรามีก็แอบหยอดไปประมาณว่า เราเคยดูซีรี่ย์เรื่องแดจังกึม ซึ่งในเรื่องแดจังกึมทำอาหารก็เก่งและใช้อาหารช่วยเยียวยาผู้คนที่เจ็บป่วยด้วย ซึ่งมันตรงกับสาขาที่เราเรียนพอดีแถมได้อวยเขาไปด้วยไรงี้
  • Study plan ในส่วนของ Study plan เราไม่ได้แค่เขียนแผนการเรียนหรือหัวข้องานวิจัยที่สนใจอย่างเดียวแต่เราเขียนถึงการที่เราจะพัฒนาตัวเองในด้านภาษาเกาหลียังไง และก็บอกว่าจะทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาสังคมและเผยแพร่ความเป็นไทยให้คนเกาหลีได้รับรู้ด้วย ซึ่งข้อนี้ใครจะแอบเอาไอเดียไปต่อยอดก็ไม่ว่ากันน้า
  • Future plan ก็อารมณ์คล้าย study plan นี่แหละ แต่หลักสำคัญเลยคือเป็นตัวของตัวเองนะอย่าลืม และที่สำคัญมากๆอีกควรเอาให้เพื่อน อาจารย์ หรือคนรู้จักอ่านดูว่าเขาเข้าใจไหมในสิ่งที่เราเขียนลงไป อย่างของเราได้พี่ที่สนิทกันช่วยตรวจทานและแนะนำแก้ไขให้เลยออกมาเป็นรูปร่างที่ดีขึ้น
  • เอกสารอื่นๆ เช่นพวกเอกสารทางการศึกษา และเอกสารในการยืนยันสัญชาติ ก็ไม่ควรที่จะละเลยนะ เพราะเอาจริงๆแล้วขั้นตอนตรงนี้ก็มีความยุ่งยากพอควร ต้องมาแปลเอกสารเป็นภาษาอังกฤษและให้ทางสถานทูตรับรองอีก ถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้เตรียมตัวไว้แต่เนิ่นๆเลยดีกว่า

ข้อแนะนำเพิ่มเติม สำหรับคนที่อ่านถึงตรงนี้แล้วปีหน้า และได้เป็นหนึ่งในผู้ที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรก สิ่งที่ต้องไปทำคือการตรวจร่างกายซึ่งมีความเฉพาะและตรวจเยอะมากหลายสิ่งอย่าง สิ่งที่เราจะแนะนำคือ ไปตรวจโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองจากสถาทูตเป็นอันดีที่สุด เพราะเมื่อผ่านการคัดเลือกรอบสองแล้ว ตอนไปยื่นขอวีซ่าจะมีการเรียกขอผลตรวจร่างกายเรื่องโรควัณโรคอยู่ ซึ่งถ้ารอบแรกไปตรวจโรงพยาบาลที่สถานทูตไม่รับรอง ก็จะต้องไปทำการตรวจอีกรอบน้า (แบบพี่ๆเด็กทุนรอบเดียวกันนี่แหละ 55555 วุ่นวายกันหลายคนเลย ) อย่างของเราไปตรวจที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ก็คือเรียบร้อยดีไม่มีปัญหา และบริการดีด้วย ไว้ด้วยแหละ

สุดท้ายก็อยากจะขอบคุณทุกคนที่อ่านจนจบ ขอบคุณเจ้าของกระทู้มากนะครับที่ให้โอกาสได้มาแชร์ประสบการณ์นี้ ตามปณิธานที่เราเคยตั้งใจไว้ว่าถ้าเราได้ทุนเราก็จะแชร์ประสบการณ์ให้คนที่สนใจรุ่นต่อๆไปมีแนวทาง และหวังว่าจะได้เจอกันสำหรับคนที่สนใจทุนรัฐบาลเกาหลีใต้ และมาเป็นครอบครัว Thai KGSP กันนะ”

 


  • อ่านบทความอื่นๆ เกี่ยวกับ การศึกษาและข้อมูลทุน คลิกที่นี่

 

Filed Under: Education Tagged With: ทุน, ทุนรัฐบาลเกาหลี, นักเรียนทุน

แนะนำทุนรัฐบาลเกาหลี KGSP ระดับปริญญาโท-เอก (3)

September 11, 2016 By KaiMook McWilla Malany 10 Comments

แนะนำทุนรัฐบาลเกาหลี KGSP ระดับปริญญาโท-เอก

  • แนะนำทุน วิธีการสมัครทุน (ตอนที่ 1: คลิกที่นี่)
  • การขอเอกสาร/รับรองเอกสาร, Letter of Introduction, Statement of Purpose และ ส่วนอื่นๆ ในเอกสารประกอบการสมัคร (ตอนที่ 2: คลิกที่นี่)

ในตอนนี้ บทความที่เรื่อง หัวข้อ “แนะนำทุนรัฐบาลเกาหลี KGSP ระดับปริญญาโท-เอก” ครอบคลุมเรื่อง

  • Recommendation Letter
  • เคล็ดลับการเขียนใบสมัคร
  • การสอบสัมภาษณ์

 

แอ๊ม: ทุนรัฐบาลเกาหลีปี 2016

Recommendation Letter

เอกสารนี้เป็นอีกอย่างที่สำคัญไม่แพ้กัน การเลือกหาอาจารย์ที่เหมาะสมจะเขียนจดหมายแนะนำตัวให้เราเป็นอะไรที่ยากและต้องคิดเยอะมาก ในประกาศขอจดหมาย 1 ฉบับ แต่เราแอบแนบไปสองฉบับ ฉบับนึงจากอาจารย์ในเมเจอร์ตัวเอง อีกฉบับจากอาจารย์เกาหลี เพราะเราต้องการให้เขาเห็นว่าเรามีความสนใจที่กว้างนะ สนใจทั้งเกาหลีและเมเจอร์ตัวเองจริงๆ แนะนำว่า เต็มที่จะแนบได้คือ 2 ฉบับนะคะ เพราะถ้าสามจะเยอะเกินไป และอาจจะโดนครหาได้ว่าทำผิดกฎ (แฮ่ แค่นี้ก็ผิดกฎแล้วเน๊อะ)

ทริค

เราจะสรุปทริคเป็นข้อๆ แบบสั้นๆ เร็วๆ สำหรับเอกสารให้ก่อนนะคะ

  1. พิมพ์ใบสมัคร ห้ามเขียน เพราะยังไงตัวพิมพ์ก็อ่านง่ายกว่าลายมือเราแน่ๆ
  2. ถ้าทำได้ แนบเรซูเม่และพอร์ทโฟลิโอแบบย่อๆ ของตัวเองไปให้เขาด้วย เราแนบแทบทุกอย่างที่เกี่ยวกับเมเจอร์ตัวเองและเกาหลีไปเผื่อ ยอมเสียตังค์ค่าแปลใบเกียรติบัตรไปอีกหนึ่งใบ เพื่อให้เขารู้ว่าเรามีผลงานอะไรบ้าง
  3. ถ้าเป็นกิจกรรมที่ไม่มีเกียรติบัตร ให้แนบรูปและเขียนคำบรรยายไปแทนได้ค่ะ
  4. จัดเรียงลำดับเอกสารให้เรียบร้อย หนีบคลิปไปด้วยให้เป็นระเบียบ ทำให้อ่านง่าย สะอาด เรียบร้อยที่สุด ให้รู้สึกได้ว่าเราใส่ใจนะ
  5. อย่าลืมเขียนเลขและชื่อเอกสารกำกับหัวมุมตามประกาศให้เรียบร้อยด้วย
  6. สำหรับคนที่ส่งเอกสารทางไปรษณีย์ ต้องส่งลงทะเบียนนะคะอย่างน้อย เพราะเราจำเป็นต้องติดตามเอกสารของเราได้ และแน่ใจว่าจะไม่หาย พยายามติดตามสถานะให้ดีและอีเมลยืนยันกับปลายทาง เมื่อสถานะปรากฏว่าได้รับเอกสารเรียบร้อยแล้วด้วยค่ะ

จบตรงนี้ สามารถนั่งรอลุ้นไปสัมภาษณ์กันต่อได้เลย

ทริคสำหรับช่วงสอบสัมภาษณ์

ส่วนของการสอบสัมภาษณ์ เราไม่มีประสบการณ์สำหรับช่องทางสถานทูตจริงๆ ถ้ายังไงต้องขอโทษด้วยนะคะที่จะแนะนำได้ละเอียดจริงๆ จะเป็นช่องทางมหาวิทยาลัยมากกว่า เมื่อเรารอทางมหาวิทยาลัยยืนยันการสอบสัมภาษณ์ ก็ได้เวลาเตรียมตัวสอบสัมภาษณ์กัน

ส่วนใหญ่มหาวิทยาลัยจะส่งอีเมลมายืนยันว่าเราผ่านการพิจารณา ได้สอบสัมภ
าษณ์ช่วงก่อนหน้าจะสัมภาษณ์ประมาณ 2 – 3 วัน เหมือนพอมีเวลาให้เราเตรียมตัว เตรียมใจและตื่นเต้นได้นิดนึง ส่วนใหญ่จะบอกมาด้วยว่าจะสัมภาษณ์เป็นเกาหลีหรืออังกฤษ เราได้อีเมลตอนเราอยู่บนรถไฟใต้ดิน กลับบ้านปุ๊บนี่รีบเปิดคอมฯ มาเขียนสคริปก่อน ฮ่าๆๆ เป็นคนต้องมีสคริปไว้ให้อุ่นใจ วิธีการสัมภาษณ์ของมหาวิทยาลัยจะมีฮิตๆ อยู่ 2 แบบ คือ โทรเข้าโทรศัพท์ หรือสไกป์ค่ะ ของเราไม่รู้โชคดีหรือโชคร้าย แต่เราได้สไกป์ ทำให้รู้ว่า ดูสคริปที่เขียนไว้ไม่ได้นะ

ถ้าทำได้ เราแนะนำให้ซ้อมสัมภาษณ์กับใครซักคน พอดีเรามีเพื่อนที่ว่างอยู่พอดี เลยมาช่วยเป็นคู่ซ้อมให้ประมาณสามสี่รอบ นั่งเก็งคำถามที่คิดว่าน่าจะถูกถาม ตั้งแต่ถามทั่วไป เป็นใคร ชื่ออะไร เรื่องการปรับตัวจนถึงหัวข้อวิจัย ซ้อมครบแล้วเลยมั่นใจขึ้น พร้อมเจอของจริง

ในวันสัมภาษณ์จริงๆ นี่เราแทบจะปิดบ้านเลย บอกทุกคนว่าขออยู่ในห้องตัวเอง ไม่ให้ใครมาเรียกจนกว่าจะออกไปเอง นอนเร็ว ตื่นเช้า อาบน้ำ กินข้าว แต่งตัวใส่ชุดนิสิตเรียบร้อย นั่งรอ (ตอนนั้นสัมภาษณ์ตอนเช้าค่ะ ทับเวลาเรียนด้วย เราเลยขออาจารย์ที่คณะว่าจะเข้าสาย) มีการเทสต์เสียงก่อนนิดหน่อย จากนั้นก็ถึงคิวเราสัมภาษณ์ ตอนโดนสัมภาษณ์คือ รู้สึกว่าทุกอย่างผ่านไปเร็วมาก สคริปที่เขียนไว้ไม่ได้พูดตามเลย เพราะมีเซอร์ไพร์สที่อาจารย์ที่สัมภาษณ์เรา ดันสัมภาษณ์เราเป็นภาษาเกาหลี ตกใจแทบสิ้นสติ แต่ก็ค่อยๆ ถูๆ ไถๆ ไปเท่าที่สกิลภาษาเกาหลีขั้นต้นของตัวเองจะอำนวย เราพูดประโยคแรกเป็นเกาหลี แล้วค่อยอธิบายรายละเอียดเป็นภาษาอังกฤษ ทำให้เขารู้สึกว่าเราพยายามที่สุดแล้วไปก่อน อีกอย่างคือ ร่าเริงแจ่มใสและเป็นตัวของตัวเอง ค่อยๆพูด พูดให้ชัดเจน ไม่ต้องคิดมากว่าเราต้องรัวเร็วใส่กรรมการ

หลังจากนั้น มหาวิทยาลัยจะส่งอีเมลมาหาเราว่า เราผ่านรอบสัมภาษณ์และมหาวิทยาลัยส่งชื่อเราไปเป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยให้รัฐบาลเลือกต่อไปในรอบสอง ถ้าได้รับอีเมลแล้ว ที่เหลือที่ทำได้คือ สวดมนต์และเตรียมใจเผื่ออย่างเดียวค่ะ ฮ่าๆๆ เพราะรอบสองของรัฐบาล คัดเลือกจากเอกสารอย่างเดียว ไม่มีการเรียกสัมภาษณ์ รู้ผลอีกทีคือตอนผลออกเลย ถ้าผ่านรอบสอง คอนเฟิร์มได้เยอะแล้วว่ามีลุ้นได้ทุนแน่นอนค่ะ (สำหรับช่องทางมหาวิทยาลัย ส่วนของช่องสถานทูต ต้องไปเจอกับการสัมภาษณ์ของแต่ละมหาวิทยาลัยอีกทีเน๊อะ)

เป็นกำลังใจให้ทุกคนนะคะ 😀

เล่าหมดเปลือกมากแล้ว ไม่เคยพิมพ์เยอะและละเอียดขนาดนี้ ฮ่าๆๆ ยังไงเราหวังว่า ประสบการณ์ของเราจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นที่แว่บมาอ่านแล้วสนใจบ้างไม่มากก็น้อยนะคะ เราเชื่อว่าเวลาเราอยากได้อะไร เราต้องลงทุนด้วยอะไรบางอย่างเสมอ ไม่ว่าจะแรงกายหรือแรงใจ มันจะเหนื่อยมากและท้อมากระหว่างที่ทำ รู้สึกไม่มั่นคงด้วยว่าทำไปแล้วจะได้ ซึ่งก็จริง เพราะคนที่ได้ทุนไม่ใช่คนส่วนใหญ่ แต่เป็นคนส่วนน้อย เราเองเคยสมัครทุนนี้รอบปริญญาตรีแล้วไม่ได้มาก่อนเหมือนกัน ตอนนั้นก็เสียใจมาก แต่สุดท้ายก็เอาใบสมัครตัวเองมาลองดูใหม่ เราเลยมาพิจารณาจุดอ่อนตัวเองได้ เอามาแก้แล้วเขียนใหม่ รู้สึกเหนื่อยกับการพยายามมาหลายรอบ หลายหนเหมือนกัน เรารู้ว่า การพยายามมันเหนื่อย แต่ถ้าเราพยายามอย่างน้อยมันก็ทำให้เรามีโอกาสได้อย่างน้อย 1 เปอร์เซ็นต์ เราเป็นกำลังใจให้ทุกคนในการพยายามทำให้โอกาส 1 เปอร์เซ็นต์นั้นเป็นจริงนะคะ 🙂

มีอะไร สามารถส่งมาถามได้ จะพยายามแหวกเวลาและกองการบ้านมาตอบ

ปล. สุดท้ายจริงๆ ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงตอนจบค่ะ”

 


อ่าน บทความการศึกษาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่

  • แนะนำทุนรัฐบาลเกาหลี KGSP ระดับปริญญาโท-เอก 1 คลิกที่นี่
  • แนะนำทุนรัฐบาลเกาหลี KGSP ระดับปริญญาโท-เอก 2 คลิกที่นี่
  • หากมีคำถาม หรือ ข้อสงสัยใดๆ ทิ้งคอมเมนต์ไว้ใต้โพสได้เลยนะคะ ? 
  • เพื่อนทุนเกาหลีในเครือ จะมาตอบให้ด้วยความเต็มใจ ไม่มีกั๊ก ค่า

 

Filed Under: Education Tagged With: ทุน, ทุนรัฐบาลเกาหลี

แนะนำทุนรัฐบาลเกาหลี KGSP ระดับปริญญาโท-เอก (2)

September 10, 2016 By KaiMook McWilla Malany Leave a Comment

แนะนำทุนรัฐบาลเกาหลี KGSP ระดับปริญญาโท-เอก

หลังจาก กลยุทธิ์เด็ดการสมัครทุนรัฐบาลเกาหลี แนะนำทุนคร่าวๆ แบบเน้นลึกตรงประเด็น วิธีการสมัครทุน (ตอนที่ 1: คลิกที่นี่) แล้ว ใน ภาค 2 บทความนี้: แนะนำทุนรัฐบาลเกาหลี KGSP ระดับปริญญาโท-เอก (2) เราจะมาดูกันว่า

  • การขอเอกสาร รับรองเอกสาร ควรทำอย่างไร
  • วิธีการเขียน Letter of Introduction
  • วิธีการเขียน Statement of Purpose 
  • (อ่านเคล็ดลับ การเขียน Statement of Purpose และ Motivation Letter: คลิกที่นี่)
  • ส่วนอื่นๆ ในเอกสารประกอบการสมัครล่ะ ควรเขียนแบบไหนดีนะ

 

แอ๊ม: ทุนรัฐบาลเกาหลีปี 2016

การทำใบสมัครทุนเกาหลีมี การขอเอกสารและจำเป็นต้องแปลและรับรองเอกสาร หลายตัวมาก ตรงนี้ แนะนำให้อ่านประกาศรับสมัครให้ละเอียด เราอ่านหลายรอบมาก ดูให้ชัดว่าต้องแปลและรับรองเอกสารยังไงบ้าง ติดต่อกับสถานทูตหรือมหาวิทยาลัยที่ตัวเองสมัครเพื่อยืนยันด้วยก็ดีว่า ต้องให้ใครรับรองเอกสารบ้าง เพราะสถานทูตและมหาวิทยาลัย (ซึ่งมีหลายมหาวิทยาลัยมาก) มีเงื่อนไขในการรับรองเอกสารที่เข้มงวดแตกต่างกันออกไป ติดต่อได้ทั้งทางโทรศัพท์และอีเมลเลยค่ะ อย่ากลัวหรือเกรงใจที่จะถาม เราจำเป็นต้องละเอียดกับทุกขั้นตอนจริงๆ เจ้าหน้าที่ที่รับหน้าที่ค่อนข้างจะเข้าใจดี แต่ย้ำอีกครั้งเลยว่าเราเองก็ต้องอ่านเองให้ละเอียดก่อน เพราะในประกาศบอกไว้ค่อนข้างละเอียดมากอยู่แล้ว บางคนยังอ่านไม่ละเอียดแล้วถามย้ำ นี่อาจจะทำให้เจ้าหน้าที่หงุดหงิดได้ เราเองก็ยังแอบหงุดหงิดเองเวลาคนมาถาม ทั้งที่ถ้าอ่านจะเจอแน่ๆ ฮ่าๆๆ ต่อไปจะเป็นส่วนที่ทุกคนน่าจะสนใจที่สุดส่วนนึงค่ะ และเป็นหัวใจหลักในการที่ทางโครงการจะพิจารณาว่าจะให้ทุนหรือไม่ให้ทุนเราดีเลยล่ะ Letter of Introduction กับ Statement of Purpose

วิธีการเขียน Letter of introduction และ Statement of Purpose (SOP)

(เคล็ดลับการเขียน อ่านเพิ่มเติมได้ คลิกที่นี่)

สำหรับทุนรัฐบาลเกาหลี ส่วนสำคัญที่จะมีผลในการได้ทุนอยู่ที่ Letter of Introduction และ SOP เลย รุ่นพี่ทุนที่เรารู้จักบอกว่า มหาวิทยาลัยจะสนใจเราได้หรือไม่ ขึ้นกับ Letter of Introduction และ Study Plan ส่วนตัวรัฐบาลจะสนใจ SOP มากกว่า ยังไงก็ต้องทำให้ดีสุดชีวิตทั้งคู่แบบไม่มีข้อแม้ ทั้งสองอย่างนี้ต้องเป็นภาษาอังกฤษหรือเกาหลีเท่านั้นค่ะ

ส่วนของ Letter of Introduction มีรายละเอียดบอกไว้คร่าวๆ แล้วว่าเราต้องเขียนอะไรบ้าง เล่าเรื่องชีวิตของเรา พื้นหลังการศึกษา ประสบการณ์ทำงานที่คิดว่าเกี่ยวข้องกับโครงการ แรงบันดาลใจที่ทำให้เราสมัครทุนและเหตุผลที่เราต้องไปเรียนที่เกาหลี โดยทั้งหมดนี้ต้องอยู่ในพื้นที่ 1 หน้ากระดาษเอสี่ มีการกำหนดขนาดและรูปแบบตัวอักษรมาชัดเจน นั่นหมายความว่า ทุกเซนติเมตรในกระดาษแผ่นนี้มีความหมายมาก พยายามดึงความเป็นตัวเองออกมา แล้วเขียนในแบบของตัวเอง ต้องทำให้เขารู้จักเราดีที่สุดในพื้นที่หนึ่งหน้ากระดาษนี้ ต้องวางแผนและคิดดีๆ เลยล่ะค่ะ เราเขียนหลายวันมาก จำได้ว่าลองร่างเป็นภาษาไทย เอาไปให้อาจารย์ดูหนนึง อ่านจบ อาจารย์บอกว่าให้เขียนใหม่ ไม่ใช่ให้แก้นะ ให้เขียนใหม่ เรานี่น้ำตาจะไหล ฮ่าๆๆ นั่งคิดอยู่หลายวัน กว่าจะหาวิธีเล่าเรื่องของตัวเองออกมาได้ เขียนเป็นภาษาอังกฤษเสร็จปุ๊บ จากนั้นเราก็ให้เพื่อนช่วยอ่านทวนแก้แกรมม่าภาษาอังกฤษให้สวยงามอีกที ก่อนให้อาจารย์คอนเฟิร์มให้อีกรอบ

ด้วยความที่พื้นที่เป็นเงินเป็นทอง ข้อมูลอะไรที่มีอยู่ส่วนอื่นอยู่แล้วในใบสมัครส่วนอื่น เช่น ชื่ออะไร เป็นใคร เรียนอยู่ที่ไหน เราแนะนำให้ตัดออก เพราะพื้นที่น้อย แต่ให้เข้าประเด็นเร็วๆ ตรงไปตรงมา ไม่เขียนประโยคยาวเกินไป ห้ามเข้าใจยาก ลองจินตนาการว่า กรรมการต้องอ่านใบสมัครคนเป็นร้อยเป็นพันคน เขาขี้เกียจถอดรหัสหรืออ่านอะไรที่มีแต่น้ำท่วมทุ่งแน่ๆ พยายามทำให้สั้น กระชับ เข้าใจง่าย ตรงเป้าหมาย เขียนให้เขาเห็นถึงความตั้งใจ ความมุ่งมั่น ความพยายามที่ซ่อนอยู่ของเรา วางโครงเรื่องให้ดีว่าย่อหน้าไหน จะเขียนถึงประเด็นไหน แล้วเล่าให้ตรงประเด็น เราขอยกตัวอย่างโครงร่างของเราคร่าวๆ ค่ะ

ตัวอย่าง Letter of Introduction

  • ย่อหน้าแรก เราเขียนว่า ความสนใจในประเทศเกาหลีของเราเกิดจากอะไร
  • ย่อหน้าที่สอง เราเขียนว่า ในมหาวิทยาลัย นอกจากเรียนแล้ว เราทำอะไรบ้าง (ไม่แนะนำให้เสนอเรื่องเรียน เพราะมีส่วนของเกรดให้กรอกอยู่แล้ว) เราเลือกเขียนทั้งกิจกรรมที่เกี่ยวกับวิชาเอกของเราและที่เกี่ยวกับเกาหลี (พอดีเราทำงานชมรมเกาหลีมาบ้างด้วยเหมือนกัน)
  • ย่อหน้าที่สาม เราเขียนถึงประสบการณ์ที่เราเคยไปแลกเปลี่ยน เพื่อให้เขารู้ว่าเราจะสามารถไปอยู่ข้างนอกได้อย่างปลอดภัย สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมนานาชาติได้ (ตอนนี้ชีวิตก็นานาชาติมาก เพราะเป็นคนไทยทุนระดับปริญญาโทคนเดียวที่ถูกส่งมาเรียนภาษาที่นี่ ฮ่าๆๆ)
  • ย่อหน้าที่สี่ เราเขียนถึงประสบการณ์ทำงานพาร์ทไทม์ของเรา (เราเคยเป็นผู้ช่วยวิจัยอาจารย์ตอนเรียนปริญญาตรีค่ะ เราเลยให้รายละเอียดถึงงานที่เราเคยทำไปย่อๆ)
  • ย่อหน้าสุดท้าย เราเขียนถึงเหตุผลที่ขอทุนและที่ต้องไปเรียนเกาหลีไป

อ๋อ รวมๆ ทุกอย่างเราเขียนหมดเลยว่า ประสบการณ์ที่เราเจอ หล่อหลอมให้เราเป็นคนแบบไหน ยังไง เขาจะได้เห็นทั้งเรื่องราวชีวิตของเราและความเป็นตัวเราได้พร้อมๆ กัน

ทุกคนอาจจะคิดว่า เอ๊ย เขียนแบบนี้เลยน่าจะได้ทุน เราไม่แนะนำให้เขียนตามโครงร่างของคนอื่นเลยค่ะ เพราะถ้าเราไม่ได้เป็นตัวของตัวเอง เวลาเขียนออกมา ความรู้สึกมันจะไม่แรงพอที่จะส่งถึงคนอ่านได้ แนะนำให้หาแนวการเขียนของตัวเอง และเขียนออกมาให้เป็นตัวเองที่สุดค่ะ 😀

ตัวอย่าง Statement of Purpose

ต่อไปในส่วนของ Statement of Purpose ของทุนรัฐบาลเกาหลีนั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนย่อย คือ Study Plan และ Future Plan เราจะขอแบ่งเล่าเป็นสองย่อหน้าเลยนะคะ

  • Study Plan ส่วนนี้ตรงตัว เราต้องเขียนถึงเป้าหมายที่เราจะศึกษา ถ้ามีหัวข้อกว้างๆ เกี่ยวกับสิ่งที่เราสนใจด้วยแล้วจะดีมาก และให้รายละเอียดเท่าที่จะทำได้ ความจริงตรงนี้เปลี่ยนได้ แต่ถ้ามีแล้ว จะทำให้เราดูมีความมุ่งมั่นและเตรียมตัวมาดีขึ้นอีกนิดนึง เราเองเขียนถึงหัวข้อที่เราสนใจและบอกเหตุผลว่าทำไมเราถึงอยากทำเรื่องนี้ เรื่องนี้สำคัญยังไง ถ้าเป็นสายวิทยาศาสตร์อาจจะเขียนแผนเข้าแลปอะไรทำนองนี้คร่าวๆ แนบไปด้วยก็ได้ค่ะ ของเราสายสังคม เลยเน้นอ้างอิงงานวิจัยหรือผลสำรวจองค์กรเพื่อให้ดูมีการทำรีเสิร์ชเพิ่มอีกนิดนึง แนะนำเสริมได้อีกนิด คือให้ไปนั่งเปิดจากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยและเมเจอร์ที่เราจะไปเรียน ดูว่ามีคอร์สอะไร เพื่อให้เอามาเขียนเสริมได้ด้วยว่าเราอยากเรียนวิชาอะไรบ้าง เพื่อสร้างฐานความรู้ให้เราไปต่อยอดต่อได้ยังไง จะทำให้เราดูใส่ใจมากขึ้นอีกระดับนึงด้วย ของเราเอง นอกจากข้างบนที่พูดไปแล้ว เราใส่ถึงกิจกรรมสัมมนาวิชาการที่เราจะเข้าร่วม อะไรแบบนี้ไปด้วย แสดงให้เห็นว่าเราใส่ใจไม่เฉพาะแค่ในห้องเรียนอย่างเดียว เราอัพเดตโลกรอบตัวด้วย
  • Future Plan ตรงนื้คือแผนการว่า หลังเรียนจบแล้ว เรามีแผนจะทำอะไรต่อ ตรงนี้เรามองว่าเป็นจุดขายอีกจุดนึงที่จะทำให้รัฐบาลเลือกว่าจะทุนหรือไม่ให้ทุนเรา เพราะการให้ทุนคือการเอาเงินภาษีของประชาชนเกาหลีมาจ่ายให้เราเรียน เขาจะดูว่าสุดท้ายแล้ว การลงทุนของเขาในครั้งนี้จะทำให้เขาอะไรได้กลับมา เราไม่แนะนำให้เขียนอวยเกาหลีมากสุดๆ จนไม่สนใจประเทศแม่ สุดท้ายแล้วยังไงกรรมการก็รู้ค่ะ เขียนบนพื้นฐานของความจริงและความเป็นไปได้จะดีที่สุดเน๊อะ ใดๆ ต้องทำให้เขารู้สึกว่าการลงทุนครั้งนี้จะวิน-วินกันทั้งสองฝั่ง นั่นน่าจะดีที่สุดค่ะ ส่วนตัวเราเขียนแผนระยะสั้นและระยะยาว มีการอธิบายรายละเอียดของแผนระยะสั้นคร่าวๆ ให้เห็นภาพด้วยว่า เราจะทำอะไรกับช่วงนั้นบ้าง และมันจะช่วยเกาหลีและไทยได้ยังไงในเวลาเดียวกัน

ส่วนนี้ถ้ามีเยอะ อยากเขียนยาว สามารถเขียนเพิ่มในกระดาษอื่นได้อีก 1 แผ่นค่ะ แต่อย่างที่บอก ควรตรงประเด็นที่สุดเท่าที่จะทำได้นะคะ 😀

 

 


ในส่วนของ Letter of Recommendation, เคล็ดลับต่างๆ และ บทสัมภาษณ์ คลิกที่นี่ ค่ะ

  • หากมีคำถาม หรือ ข้อสงสัยใดๆ ทิ้งคอมเมนต์ไว้ใต้โพสได้เลยนะคะ ? 
  • เพื่อนทุนเกาหลีในเครือ จะมาตอบให้ด้วยความเต็มใจ ไม่มีกั๊ก ค่า

 

Filed Under: Education Tagged With: ทุน, ทุนรัฐบาลเกาหลี

แนะนำทุนรัฐบาลเกาหลี KGSP ระดับปริญญาโท-เอก (1)

September 10, 2016 By KaiMook McWilla Malany 7 Comments

แนะนำทุนรัฐบาลเกาหลี KGSP ระดับปริญญาโท-เอก

มาอันอีกครา กับแนะนำทุน หลังจากการตอบรับเรื่อง การเขียน Statement of Purpose, Motivation Letter มาแรง และมีเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ หลายคนส่งข้อความส่วนตัวมาถามไข่มุกเรื่อง ทุนรัฐบาลเกาหลี KGSP 

ไข่มุกมีประสบการณ์การเขียนสมัครทุนนี้นะคะ เพียงแต่ก็สองปีมาแล้ว ผ่านเข้าไปรอบสัมภาษณ์ จำตอนสัมภาษณ์ได้ดีค่ะ แต่จำไม่ได้แล้วว่าตอนเขียนใบสมัครคำถามอะไร 555 ความจำสั้น -,.- เลยขอให้เพื่อนสาว แอ๊ม ที่เพิ่งได้ทุนปีนี้ (2016) ไปหมาดๆ และเพิ่งบินไปถึงเกาหลีไม่ถึงเดือนมาเล่าประสบการณ์การสมัครทุนให้ได้ฟังกัน

แอ๊ม: ทุนรัฐบาลเกาหลีปี 2016

” แอ๊ม แนะนำตัว

สวัสดีค่ะ 🙂 ก่อนอื่นขอแนะนำตัวกันสั้นๆ ก่อนเลยนะคะ เราชื่อ แอ๊ม ตอนนี้ได้รับ ทุนรัฐบาลเกาหลีปี 2016 (ปีนี้เลยนั่นเอง สดๆ ร้อนๆ มาก) มา เรียนปริญญาโทที่สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ค่ะ ช่วงนี้เพิ่งมาถึงได้ประมาณสามอาทิตย์ เลยยังอยู่ในช่วงเรียนภาษาเกาหลี เราโดนสุ่มชื่อส่งมาลงอยู่ที่มหาวิทยาลัย Pai Chai (อ่านว่าแปแช) อยู่ที่เมืองแทจอน แถวกลางๆ ประเทศเกาหลี (ถ้าใครดู Train to Busan จะจำได้จากฉากที่ซอมบี้ทหารมาออกันจับคนที่มากับรถไฟค่ะ ฮ่าๆๆ) หลังจากจบคอร์สภาษาเกาหลียาว 1 ปี เราจะไปเรียนต่อปริญญาโทในสาขาสังคมวิทยาที่ Academy of Korean Studies แถบคยองกีโด (อันนี้ต้องบอกว่ามีสวนสนุกเอเวอร์แลนด์ ทุกคนน่าจะอ๋อกันดี) วันนี้เรามาเป็นแขกรับเชิญพิเศษตามคำขอของเจ้าของบล็อก ที่บอกให้เรามาลองเขียนอะไรสั้นๆ (ไม่รู้จะสั้นจริงไหม) แนะนำทุนที่เราได้และทริคสั้นๆ เอาเป็นว่า เริ่มกันเลยดีกว่าเน๊อะ

 แนะนำทุนรัฐบาลเกาหลี

เนื้อหาที่เราเขียน ขอ เน้นเป็นทุนระดับปริญญาโทกับเอก นะคะ น้องๆ ม.ปลายที่สนใจทุนปริญญาตรี ลองหารายละเอียดในเว็บอื่นได้เลยค่ะ เห็นมีรุ่นพี่ป.ตรีให้สัมภาษณ์ทุกปี ทุนรัฐบาลเกาหลีเป็นทุนให้เปล่ากับนักศึกษาทั่วโลกที่ต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอก โดยมี วัตถุประสงค์หลักคือให้ความรู้ระดับสูงกับบรรดานักเรียนทุน และสร้างความสัมพันธ์ มิตรภาพระหว่างนักเรียนทุนนานาชาติ เราจะเลือกเรียนสาขาอะไรก็ได้ ในมหาวิทยาลัยไหนก็ได้ที่ลงชื่อเข้าร่วมกับโครงการในปีนั้นๆ แต่ละปีจะมีรายชื่อมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมต่างกัน เราจะเช็ครายชื่อมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมได้จากเว็บไซต์ www.studyinginkorea.go.kr ประกาศรับสมัครระดับปริญญาโทและเอกจะมาช่วงประมาณกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมของทุกปี ระยะเวลาของทุนแล้วแต่ระดับการศึกษาที่สมัคร ปริญญาโทเรียนนาน 2 ปี รวมกับเรียนภาษา 1 ปี ทั้งหมดเป็น 3 ปี ส่วนปริญญาเอกเรียน 3 ปี บวกเรียนภาษาอีก 1 ปี เป็น 4 ปี (ใดๆ ถ้าใครที่มีผลสอบภาษาเกาหลีระดับ 5-6 สามารถข้ามการเรียนภาษาปีแรกไปได้เลย แถมได้เงินค่าใช้จ่ายรายเดือนเพิ่มอีกด้วยค่ะ) ตัวทุนนี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทุกอย่าง ค่าเครื่องบินไป-กลับ ค่าคอร์สเรียนภาษาเกาหลีก่อนเรียนต่อหนึ่งปี ค่าเล่าเรียนปริญญาโท-เอก ประกันสุขภาพ รวมถึงเงินค่าใช้จ่ายรายเดือน ทำให้ทุนนี้ค่อนข้างฮอตมาก โดยเฉพาะในประเทศไทยที่เคป๊อบบุกเมืองของเรา คุณสมบัติเดียวที่ต้องระวังหน่อยคือ เกรดเฉลี่ยสะสมในช่วงที่ศึกษาก่อนหน้านั้นต้องเกิน 80 เปอร์เซ็นต์ (ประมาณ 2.68 เต็ม 4.00 ค่ะ) ใครสนใจ เราแนะนำให้เตรียมตัวล่วงหน้าไว้เนิ่นๆ ทำการบ้านดีๆ และคอยติดตามในเว็บไซต์ให้สม่ำเสมอค่ะ

ถึงทุนจะน่าสนใจ แถมไม่ผูกมัดอะไรทั้งสิ้น แต่เราขอบอกว่า ต้องเตรียมใจมาให้พร้อมจริงๆ เพราะเงื่อนไขที่จะทำให้เราหลุดทุนมีอยู่สูงมาก โดยเฉพาะการสอบวัดระดับภาษาเกาหลีให้ผ่าน โดยต้องผ่านระดับ 3 ภายในเวลา 1 ปี (ขยายเวลาได้เต็มที่คือ 1 ปีครึ่ง แต่มีเงื่อนไขที่ใครได้ทุนแล้ว ค่อยมาดูเอาเองดีกว่า ฮ่าๆๆ)

เอาล่ะ ขู่เข็ญกันมาพอแล้ว ควรเข้าเรื่องอื่นที่น่าจะเป็นประโยชน์กับคนสมัครต่อซะที ถ้าใครเตรียมตัวเตรียมใจว่าพร้อมแล้ว ที่จะจากบ้านเมืองที่อาหารอร่อยที่สุดในโลกที่นึงของเรามากินกิมจิกับข้าวแทน ขอให้ตามเรามาอ่านส่วนต่อไปที่ว่าด้วยวิธีการสมัครทุนนี้กันเลยนะคะ 🙂

วิธีการสมัครทุนรัฐบาลเกาหลี

ทุนรัฐบาลเกาหลีในระดับปริญญาโท-เอก มีช่องทางในการสมัครอยู่ 2 ช่องทาง นั่นก็คือ

  1. สถานทูตเกาหลีประจำประเทศไทย: ช่องทางนี้ปีเรารับทั้งหมด 5 คน (แต่ตอนประกาศผล เรียกถึงสำรองอันดับ 1 เลยได้มาทั้งหมด 6 คน) คนที่สมัครช่องสถานทูตจะต้องผ่านด่านทั้งหมด 3 ด่าน คือ
    1. รอบแรก คัดเอกสารโดยสถานทูตให้เหลือ 20 คนสุดท้ายแล้วมีสัมภาษณ์โดยสถานทูต คัดเลือก 5 คนสุดท้ายและสำรองอีก 3 คน
    2. รอบสอง คือ รัฐบาลเกาหลีจะคัดและยืนยันชื่อ และ
    3. รอบสาม หรือ รอบสุดท้าย คือ ตรวจร่างกายและต้องได้รับการตอบรับจากมหาวิทยาลัย จุดแข็งของช่องทางนี้คือ สามารถเลือกอันดับมหาวิทยาลัยได้ 3 อันดับและไม่ต้องเสียเงินส่งเอกสารมาเกาหลี เอาไปส่งที่สถานทูตเกาหลีใกล้ๆ กับสถานีรถไฟใต้ดินศูนย์วัฒนธรรมฯ ได้เลย (ค่าส่งทำเอาช่วงนั้นหมดตัวเบาๆ เพราะเราเลือกอีกช่องทางนึง) แต่ข้อเสียคือ เรามีสิทธิ์พลาดในรอบสุดท้าย เพราะไม่มีมหาวิทยาลัยใดๆ ตอบรับ แม้เราจะได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศจากรัฐบาลแล้วก็ได้ ดังนั้น ต้องวางกลยุทธ์ในการเลือกมหาวิทยาลัยให้ดี ถ้ายังไม่มั่นใจในโปรไฟล์ของตัวเองมาก พยายามกระจายความเสี่ยง เลือกมหาวิทยาลัยที่นอกเหนือจาก SKY (SNU, Korea, Yonsei) หรือไม่ติดท็อบ 10 ด้วยน่าจะเซฟที่สุด
  2. มหาวิทยาลัยในเกาหลีที่เข้าร่วมโครงการกับรัฐบาล: ช่องทางนี้ปีเรารับทั้งหมด 9 คน และให้ทุนพอดีเป๊ะ 9 คนไม่ขาดไม่เกิน ไม่มีสำรอง คนที่สมัครช่องนี้จะต้องผ่านด่านหลักๆ ทั้งหมด 2 ด่าน คือ คัดและสัมภาษณ์โดยมหาวิทยาลัยที่ส่งใบสมัครไป และ คัดใบสมัครอีกครั้งโดยรัฐบาล ถ้าผ่านรอบสอง เหมือนขาก้าวไปข้างนึงแล้ว มีตรวจร่างกายหลังรัฐบาลประกาศชื่อแล้วเช่นกัน แต่โอกาสหลุดน้อยมาก ถ้าไม่ได้เป็นโรคอะไรร้ายแรง ข้อดีของช่องทางนี้คือ เราจะผ่านขั้นตอนที่น้อยรอบและลุ้นให้หัวใจระทึกเล่นน้อยกว่าช่องสถานทูต และมีโควต้าให้ช่องทางนี้มากกว่าช่องสถานทูต แต่ข้อเสียที่ร้ายแรงพอสมควรคือ เราสามารถเลือกส่งใบสมัครไปให้มหาวิทยาลัยนั้นโดยตรงได้แค่ 1 มหาวิทยาลัย ถ้าทุนพบว่าเราส่งเกินกว่า 1 มหาวิทยาลัย จะโดนตัดสิทธิ์ทันที นอกจากนั้นคือ ต้องเสียค่าส่งเอกสารไปที่เกาหลี เราแนะนำให้หาดีลดีๆ ช่วงนั้นเราซื้อดีลของ dhl เลยได้ส่งในราคาถูกแล้วช่วยเซฟไปได้หน่อยนึง

สำหรับเรา ทั้งสองช่องทางไม่ได้มีช่องไหนมีความเป็นไปได้มากหรือน้อยกว่ากัน ต้องชั่งน้ำหนักเอาเองว่าเราจะยอมเสี่ยงไปกับอะไร ส่วนตัวเราเอง ที่เราเลือกช่องมหาวิทยาลัย เพราะเราคิดว่า เราแค่ต้องทำให้มหาวิทยาลัยสนใจเราก่อน เราคิดเผื่อไว้ว่าไม่ได้ทุนของรัฐบาล แต่ถ้าทำให้มหาวิทยาลัยหรืออาจารย์สนใจเราได้ อย่างน้อยเขาอาจจะเสนอทุนอื่นของมหาวิทยาลัยให้เราไปเรียนก็ได้ (แล้วเขาก็ส่งทุนอื่นมาให้เราสำรองไว้เผื่อ ตอนที่เรารอทุนรัฐบาลประกาศผล แต่เราเสี่ยงไม่สมัครทุนของมหาวิทยาลัย ดีที่ยังโชคดีที่ได้ทุนรัฐบาลพอดี ไม่งั้นคงเสียดายเบาๆ ฮ่าๆๆ) ใครสนใจเอาทริคนี้ไปลอก เราไม่ถือค่ะ 😀

ทริคเพิ่มเติม!!

มีทริคเล็กๆ สำหรับช่องมหาวิทยาลัยด้วย คือ แนะนำให้ส่งอีเมลไปแนะนำตัวกับอาจารย์ซักคนที่เมเจอร์ที่ตัวเองสนใจจะไปเรียน แต่ถ้าแนะนำอย่างเดียวมันคงจะแปลก พยายามหาเรื่องที่คิดว่าควรจะปรึกษา เช่น หัวข้อวิจัย หรืออะไรก็ได้ค่ะ เรารู้ว่ามันอาจจะดูเฟคเบาๆ แต่อย่างน้อยมันก็อาจทำให้อาจารย์จำได้แบบเลือนรางว่ามีเด็กคนนึงสนใจเมเจอร์ของตัวเอง และถ้าโชคดี อาจได้อาจารย์คนนั้นมาเป็นคนสัมภาษณ์ เช่น เราเอง เป็นต้น (ฮา)”

 

 


เพื่อน แอ๊ม เขียนมาให้ ได้รายละเอียดเยอะ รู้ลึก ทุกประเด็นจริงๆ 🙂 พักกันสักนิดนะคะ แล้วตามไปดูกันต่อที่ แนะนำทุนรัฐบาลเกาหลี KGSP ระดับปริญญาโท-เอก (2) คลิกที่นี่ ค่า

  • ระหว่างนี้ หากมีคำถาม หรือ ข้อสงสัยใดๆ ทิ้งคอมเมนต์ไว้ใต้โพสได้เลยนะคะ 😀 
  • เพื่อนทุนเกาหลีในเครือ จะมาตอบให้ด้วยความเต็มใจ ไม่มีกั๊ก ค่า

 

Filed Under: Education Tagged With: ทุน, ทุนรัฐบาลเกาหลี

ลุย อิสตันบูล ตุรกี หลังปฏิวัติ 3: สถานที่ท่องเที่ยวหลัก

September 7, 2016 By KaiMook McWilla Malany Leave a Comment

ลุย อิสตันบูล ตุรกี หลังปฏิวัติ 3
(สถานที่ท่องเที่ยวหลัก 2)

บทความนี้ เราจะไปลุยกันต่อกับอีก 2 สถานที่ยอดฮิต คือ Basilica Cistern และ Topkapi Palace ค่ะ

#turkishflag มีเยอะมาก ทุกตึก ทุกมุม

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Sep 7, 2016 at 2:47am PDT

ก่อนไปต่อเที่ยวกันต่อ อย่าลืมเช็ค ตาราง วัน เวลา ทำการของพิพิธภัณฑ์และสถานที่ท่องเที่ยว เหล่านั้นด้วยน้า

เคล็ดลับ:

  • ตรวจดูวันเวลาทำการขอสถานที่ท่องเที่ยวและพิพิธภัณฑ์ให้ดีนะคะ พิพิธภัณฑ์ส่วนใหญ่มีเวลา เปิด-ปิด ของเค้าเอง ไปถีงจะได้ไม่ยืน เอ๋อ มึน หน้าประตูที่ปิดใส่หน้าค่ะ 555

วันปิดทำการ สถานที่หลัก ฉันรวบรวมมาให้ ดังนี้

  • Museum – จันทร์
  • Hagia Sophia – จันทร์
  • Archeological Museums – จันทร์
  • Mosaic Museum – จันทร์
  • Turkish & Islamic Arts Museum – จันทร์
  • Topkapı Palace & Harem – อังคาร
  • Chora Church/Kariye Museum – พุธ

ข้อระมัดระวัง

  • เมื่อเช็ควันเรียบร้อย หากจะใช้ museum pass ตรวจให้ดีก่อนด้วยว่า จะเริ่มใช้บัตรวันไหน เพราะหากเริ่มวันจันทร์ (วันที่หลายสถานที่ท่องเที่ยวปิด) อาจจะพลาดโอกาสหลายอย่างได้ แนะนำว่า ไม่ควรเริ่มใช้บัตรวันจันทร์ ค่ะ เป็นวันหยุดทำการของพิพิธภัณฑ์ก็ว่าได้

 

3. Basilica Cistern

สำหรับการเดินทางไป Basilica Cistern สามารถเดินเท้าได้ จากสองสถานที่แรกเลย ตำแหน่งของมันอยู่ใกล้กับ Aya Sofia และ Blue Mosque

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Sep 7, 2016 at 2:50am PDT

ระหว่างทางเดินที่เข้าไป จะเห็นเสาหลายๆ แท่งค่ะ ตั้งเป็นทางตามน้ำ ข้างในมืดๆ เย็นๆ ได้กลิ่นน้ำ และใต้ดินหน่อยๆ บรรยากาศฉันชอบมากนะ มันขรึม สลัว ดีค่ะ 😀

เสาหินใน #bacilicacistern

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Sep 7, 2016 at 2:32am PDT

ที่ Basilica Cistern นี้ เป็นทางเดินใต้ดิน เต็มไปด้วยน้ำ และความมืดกับแสงไฟสีส้ม ในความโรแมนติกนี้ ยังมีความลึกลับหน่อยๆ

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Sep 7, 2016 at 2:50am PDT

โยนหินขอพร #bacilicacistern

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Sep 7, 2016 at 2:31am PDT

จะมีจุดให้โยนเหรียญขอพรด้วยค่ะ มองไปในน้ำดีๆ เห็นปลาตัวน้อยใหญ่แหวกว่ายไปมา

 

สิ่งที่เด่นดังมากๆ ของแหล่งท่องเที่ยวนี้คือ “หัวเมดูซ่า” 2 หัว เป็นสถาปัตยกรรมเด่นติดเสา ความแปลกและน่ามหัศจรรย์ของหัวเมดูซ่า คือ หัวหนึ่ง วางกลับด้าน อีกหัวหนึ่ง วางตะแคงข้าง

#basilicacistern and #medusahead #istanbul #turkey #sultanahmet อีกสถานที่ที่พลาดไม่ได้เด็ดขาด อยู่ #ใต้ดิน #underground หลอนนิดๆ แต่ได้บรรยากาศมาก วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ยุคออตโตมัน ความน่าอัศจรรย์คือ #หัวเมดูซ่า คว่ำ และ ตะแคง 2 หัว #wanderfulminds เพราะอะไร? ตามดูที่ wanderfulminds.com นะคะ 🙂

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Aug 19, 2016 at 1:20am PDT

ส่วนหัวเมดูซ่า ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของ basilica เป็นหนึ่งในศิลปะสถาปัตยกรรมของยุคโรมัน ที่มาของหัวนี้ เขาว่ากันว่า หัวสองหัวนี้ถูกเอามาใช้เพื่อเป็นฐานให้กับเสาทั้งหลาย ใช้ค้ำให้เสาตั้งได้ เหมาะกับการก่อสร้าง หากมองตามตำนานแล้ว เพราะว่า แม่นางเมดูซ่า (ตามตำนานกรีก) มีอิทธิฤทธิ๋เปลี่ยนคนที่จ้องเธอให้เป็นหิน ดังนั้น เมื่อเอาหัวมาใช้ในการก่อสร้าง ผู้ก่อสร้างเลย วางหัวกลับด้าน และ วางตะแคง เพื่อไม่ให้บุคคลผ่านไปมาถูกแปลงเป็นหิน ค่ะ ตำนานลึกซึ้งซะไม่มี 😀

#medusa

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Sep 7, 2016 at 2:30am PDT

ค่าเข้า: 20 ลิร่า/คน

ข้อควรรู้

  • บัตร museum pass ใช้ที่ Basilica Cistern ไม่ได้นะคะ
  • ที่นี่เดินไม่นาน ใช้เวลา 30 นาที เอง ก็เก็บหมดแล้ว (อาจนานกว่านี้หากถ่ายรูปเยอะ แต่มันมืดน้า)

 

4. Topkapi Palace

สถานที่ต่อมาคือ Topkapi Palace เดินห่างจาก 3 สถานที่ที่กล่าวมานิดหน่อย แต่ก็ยังอยู่ในระแวกเดียวกัน มีป้ายบอกทางเยอะพอควร ไม่กลัวหลงค่ะ

แต่ต้องบอกตามตรงว่าฉันไม่ได้เข้านะ ไปส่งเพื่อน แล้วฉันก็เดินเล่นไปมา หาของกิน (ของกินนี่คือความสุขมากๆ เลยล่ะ 555) ตอนนั้นหิวมากๆ กินจนอูมหมดล่ะ อาหาร ขนมหวาน ที่นี่เยอะสุดๆ มี “พุดดิ้งเนื้อไก่” ด้วย แปลกดี แต่ฉันก็ลอง รสปะแล่มๆ เป็นของหวานแปลกๆ คงไม่ซื้อกินอีก และไม่อยากกิน ได้แค่ลอง เป็นพอ (เรื่องอาหารและของกิน ติตตามได้ในบทถัดๆ ไป คลิกที่นี่ ค่า)

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Sep 7, 2016 at 2:34am PDT


  ข้าวโพดขายตามข้างทาง ราคา 15-30 ลิร่า

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Sep 7, 2016 at 2:35am PDT

ขนมปังข้างทาง ขายตามร้านรถเข็นสีแดงเหมือนร้านขายข้าวโพด ขนมนี้เทียบได้กับ bagel ตุรกี

พระราชวัง Topkapi นี้ เป็นที่อยู่ของสุลต่าน ยาวนานถึง 400 ปี ช่วงสมัยปี 1465–1856 ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ สะสมเรื่องราวเกี่ยวกับ ชาวมุสลิม ดาบ ผ้าคลุม นับว่า หากสนใจประวัติศาสตร์ยุคสมัยออตโตมัน (Ottoman) และวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ของมุสลิม ในอดีตกาล รับรองว่าที่นี่คือสวรรค์ชั้นยอด มีข้อมูลมากมายให้เรียนรู้ และหลายอย่างตระการตา เพื่อนฉันเข้าชมนานถึง 2 ชั่วโมง เพราะ พระราชวัง Topkapi มีขนาดใหญ่พอควรเลยค่ะ

ภาพจาก adavegastravel

ค่าเข้า: 40 ลิร่า/คน

 

ขาช็อปทั้งหลาย กับ สถานที่ช็อปปิ้ง ไปต่อกันเล้ยยย คลิกที่นี่!!

 


อ่าน บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่

 

 

Filed Under: Turkey Tagged With: อิสตันบูล

ลุย อิสตันบูล ตุรกี หลังปฏิวัติ: 12 อาหารตุรกี พลาดแล้วจะเสียใจ

September 6, 2016 By KaiMook McWilla Malany 2 Comments

ลุย อิสตันบูล ตุรกี หลังปฏิวัติ 5

(อาหารการกิน)

 

ที่ตุรกี อาหาร ของคาว หวาน ถือเป็นอะไรที่หาง่าย มากๆ ถึง มากที่สุด (ถูกใจ น้ำลายหกค่ะ) หันซ้าย และขวา เจอตลอดเลย อะไร คือ อะไร ทำจากอะไร ต้องลองแค่ไหน ฉันรวบรวมเด็ดๆ และน่าสนใจ มาไว้ ใน “ของกิน หวาน คาว 12 อย่าง ห้ามพลาด”  มีแปลกๆ อย่าง

พุดดิ้งไก่

และ

เบอร์เกอร์เปียก

ด้วยนะคะ คิดอะไร อ่านกันค่า –>

 

1. Baklava

#baklava ขนมของหวาน ตะวันออกกลาง เยอะมว๊าก เห็นจนเอียน แต่ไม่ว่าจะร้านไหน ฉันก็เดินเข้าไปหมด กินหมดทุกร้าน ลองจนบวมน้ำตาลแล้วค่ะ เพราะทำจาก แป้ง ถั่ว และน้ำเชื่อม แป้งกรอบเป็นชั้นๆ ข้างบน สอดไส้ถั่วพิตตาชิโอ้ กัดลงไปได้รสน้ำเชื่อมเยิ้มเบาๆ ในปาก กลิ่นหอม (ถ้าทำสดใหม่นะคะ) ระวังเจอร้านเก่าน้า #pistachio #istanbul #turkish #dessert #gourmet #sweet #wanderfulminds

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Aug 18, 2016 at 2:05am PDT

ขนม ขนม ขนม ขอเหมารวม ว่าคือ #baklava แม้จะมีชื่ออื่นตามทางการตำราขนมหวานตุรกี และตะวันออกกลาง ทำจาก แป้ง ถั่ว และน้ำเชื่อม แป้งกรอบล้อมรอบเป็นชั้นๆ ข้างใน สอดไส้ถั่วพิตตาชิโอ้ กัดลงไปได้รสน้ำเชื่อมเยิ้มเบาๆ ในปาก กลิ่นห๊อม หอม หวาน อร่อยเว่อค่า #pistachio #istanbul #turkish #dessert #gourmet #sweet #wanderfulminds

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Aug 20, 2016 at 8:14am PDT

คือ ขนมหวาน มีหลากหลายรูปแบบมาก แต่ละอย่าง มีชื่อเรียกต่างกันไป แต่ฉันขอเหมารวมเรียกว่า Baklava ทั้งหมด (เพราะจำไม่ได้ล้ะค้า แฮ่ๆ) ทำจาก แป้ง ถั่ว และ น้ำเชื่อม หรือ น้ำผึ้ง รสชาติกรอบแผ่นแป้งที่วางเป็นชั้นๆ บางๆ มีกลื่นหวาน หอมน้ำเชื่อม กรุบกรอบด้วยถั่วยัดใส้หรือโรยหน้าหลากชนิด อาจเป็น พิตตาชิโอ่ ถั่วลิสง วอลนัท หรืออื่นๆ

 

2. Salep Dondurma

ไอศกรีมของที่นี่ค่า เหนียว หนืด หวาน มัน อย่างบอกไม่ถูก ความเหนียวนี่เอง ที่คนขายที่นี่ใช้เป็นกลวิธีดึงดูดลูกค้า คนขายแต่งตัวด้วยเสื้อสีสัน สวมหมวก แล้วก็ยืดๆ ดึงๆ ไอศกรีมด้วยแท่งเหล็ก พอดึงออกมา อย่างเราก็มอง แล้วเค้าก็มอง จากนั้นสักพัก เค้าจะหยิบโคนไอศกรีมออกมา ยื่นให้เรา ตักไอศกรีมขึ้นมา ให้เราดึงโคนออกจากด้ามเหล็ก พลิกซ้ายขวาไปมา (เพราะมันเหนียวค่ะ ไอศกรีมเลยไม่หล่นแน่ๆ) จากนั้นเค้าก็ยื่นไอศกรีมมาให้เรา แล้วเราก็ “ล้วงตังค์” ออกมาจ่าย พร้อมได้เลียไอศกรีมกินระหว่างทาง 555

รูปไม่ชัด แต่อยางให้เห็นความหนืดค่า (ถ่ายตอนนั่งรถรางผ่าน เค้าดึงๆ ไอศกรีมพอดีค่ะ)

ไอศกรีมตุรกี ขึ้นชื่อ เรื่องศิลปะการขาย และความหนืดเหนียว พลาดไม่ได้จริงๆ สำหรับใครที่ไม่เคยลอง

 

3. Kunefe (and Kesme Dondurma)

#dondurmali #kunefe เป็นหนึ่งในขนมหวานพื้นเมืองของตุรกี คำว่า #dondurma คือไอศกรีมของที่นี่ค่ะ จะเหนียวและหนืดมาก ครีมสุดๆ ส่วน kunefe คือขนมหวานกลมๆ ที่เห็นทำจากเส้นแป้ง คล้ายวุ้นเส้นพันกัน มีชีสหอมหนืดอยู่ข้างใน ราคาตกประมาณ 8-12 ลิร่า ร้านนี้รสชาติใช้ได้เลย หอม หวาน และหนืด แนะนำกินกับชา ไม่ก็กาแฟ #turkishdelight #gourmet #dessert #istanbul #sweet #wanderfulminds

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Aug 15, 2016 at 8:00am PDT

ตามรูปเลยค่ะ น่ากินและอร่อยมว๊ากกกกกก ทำจากแป้งเส้น สอดใส้ชีสขาวหนืดๆ ข้างในชวนยืดเป็นเส้น กัดทีรู้สึกถึงความหนึบเหนียว หอมกลิ่นขีสและแป้งจากการทอด/ปิ้ง ผสมความหวานจากน้ำเชื่อมราด โรยด้วยผงถั่วพิตตาชิโอ้เขียวๆ ข้างบน หากใส่ ไอศกรีมก้อน Kesme Dondurma ด้วย จะให้ความหอมมันของไอศกรีม ความมันและหอมหวานขอทั้งสองอย่าง อร่อยประสานกันอย่างลงตัว แนะนำสุดๆ ค่า!!!! 🙂

#dondurmali #kunefe เป็นหนึ่งในขนมหวานพื้นเมืองของตุรกี คำว่า #dondurma คือไอศกรีมของที่นี่ค่ะ จะเหนียวและหนืดมาก ครีมสุดๆ ส่วน kunefe คือขนมหวานกลมๆ ที่เห็นทำจากเส้นแป้ง คล้ายวุ้นเส้นพันกัน มีชีสหอมหนืดอยู่ข้างใน ราคาตกประมาณ 8-12 ลิร่า ร้านนี้รสชาติใช้ได้เลย หอม หวาน และหนืด แนะนำกินกับชา ไม่ก็กาแฟ #turkishdelight #gourmet #dessert #istanbul #sweet #wanderfulminds

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Aug 15, 2016 at 7:58am PDT

เริ่ด เริ่ด เริ่ด!!! สามคำนี้ ให้เล้ยค้า มันหอมมากๆ กลิ่นลอยมาแต่ไกล โดยเฉพาะคอคนรักชีส กลิ่นชีสในแป้งที่ตีเป็นเส้นๆ ทอด/ปิ้ง บนเตา มันหอมเตะจมูกสุดๆ เตะจนเจ็บ 555 …

จำ #kunefe ที่เคยโพสไปคราวก่อนได้ไหมเอ่ย นี่คือ ขั้นแรกก่อนเอาไปปิ้ง/ย่าง สีเหลืองอ่อนขาวๆ คือแป้งตีเป็นเส้นยาวๆ ผสมกัน ลักษณะคล้ายวุ้นเส้น รสชาติคือแป้งกรอบๆ ภายในใส่ชีสหอมเหนียวหนืด พอรมควันแล้วได้สีน้ำตาลอ่อนๆ เหมือน (อันในสุด) ก่อนโรยด้วยสีเขียวจากผงถั่วพิตตาชิโอ้ จบด้วยไอศกรีมตุรกีหวานหอม #turkishdessert #dessert #wanderfulminds before the kunefe dish is ready to serve

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Aug 21, 2016 at 12:37am PDT

Kunefe ทำจากชีสยืด เรียกว่า hatay เทียบตามตะวันตก ใกล้เคียงสุดคงคือ ชีส mozzarella แต่ความพิเศษของชีสที่นี่คือ ที่ตุรกีมีการเอามาเคลือบด้วยน้ำเชื่อม ก่อนเคลือบด้วยแป้งเส้น แล้วทอด/ปิ้งจนกรอบ ทำให้เนื้อข้างนอกกรุบๆ ข้างในหอม ยืด เหนียว โรยด้วยถั่วพิตตาชิโอ้ และ/หรือไอศกรีม Kesme Dondurma

 

4. Tavukgosu (Chicken Pudding)

“อี๊ว” และสีหน้าแปลกๆ คืออาการของแทบทุกคนเมื่อได้ยินว่ามันคือ “พุดดิ้งเนื้อไก่” เป็นพุดดิ้งสีขาว ลักษณะเป็นก้อน ตักออกมาเป็นชิ้นได้ ไม่ได้เหลวเหมือนพุดดิ้งที่คุ้นเคย Tavukgosu เป็นพุดดิ้งที่เสิร์ฟตั้งแต่สมัยโบราณกาลในสมัย ??? ที่ใช้ไก่เป็นส่วนผสมเพื่อให้มันหนืดยืดหยุ่นได้เท่านั้นล่ะค่ะ ไม่ได้มีกลิ่นหรือรสชาติไก่แต่อย่างใดเลย

 

5. Lokma

#lokma ขนมหวาน #ตุรกี อีกชนิด ทำจากแป้ง ปั้นกลมๆ ทอดในน้ำมันเดือด คล้ายกับปาท่องโก๋บ้านเรา แต่มีความหนืดกว่านิดๆ ราดด้วยน้ำเชื่อม (หรือซอสช็อกโกแลต) แล้วโรยด้วยผงถั่วพิตตาชิโอ้ ฉันว่ามันหวานมากๆ เลยล่ะค่ะ กัดไปคำนึงทีนี่รู้สึกถึงน้ำหวานหนืดๆ ยืดในคอ เหมาะทานคู่กับชา/กาแฟรสเข้ม รสชาติจะตัดกันดีไม่เบา #gourmet #dessert #istanbul #wanderfulminds

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Aug 16, 2016 at 6:56am PDT

แป้งกลมๆ ราด (และฝังใน/สอดใส้) น้ำเชื่อม กัดเข้าไปทีนี่น้ำเชื่อมเยิ้มเต็มปาก เหมาะกับชาเข็มๆ กาแฟขมๆ กินเล่นอย่างเดียว รสชาติของแป้งคล้ายกับปาท่องโก๋ หนืดกว่านิดนึง

 

6. Lokum (Turkish Delight)

#turkishdelight #wanderfulminds

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Sep 6, 2016 at 3:33am PDT

แป้งเหนียวหนืดๆ บ้างใส่มาร์ชเมลโลว์ บ้างใส่ถั่ว ถั่วมีหลายชนิด หลากประเภทแล้วแต่ว่า Lokum ที่เราสั่งเป็นแบบไหน … มีให้ลองเยอะนะคะ ตามร้านต่างๆ ฉันว่ามันหวานมากๆ แต่ก็หอมหน่อยๆ ขึ้นอยู่กับว่ารสชาติที่เราเลือกกินคืออะไร โดยส่วนตัวชอบช็อกโกแลตมาร์ชเมลโล่ค่ะ 5555

เคล็ดลับ:

  • ก่อนซื้อลองชิมก่อนก็ดีค่ะ แทบทุกร้านที่ขายขนมมี Lokum หั่นเป็นชิ้นบางๆ ให้ลองชิมอยู่ทั่วไป
  • ชิมไปชิมมา กินจนเบื่อ ไม่ต้องซื้อเลยละค้า แฮ่ … ยิ้มแฉ่ง 😀

 

7. Revani (Sponge Cake)

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Sep 6, 2016 at 3:33am PDT

บ้างบอกว่า Revani เป็นขนมพื้นเมืองตุรกี บ้างอ้างว่าเป็นของกรีก จะที่ไหนไม่รู้ แต่มันคือ เค้กหน้านุ่ม (sponge cake) ทำจากแป้ง ถั่ว เนย ราดด้วยน้ำเชื่อม หรือ น้ำผึ้ง ประกบข้างด้วย ครีมนม ไอศกรีม หรือโยเกิร์ต (แล้วแต่ร้านค่ะ) รสชาติหอมหวาน กัดทีน้ำเชื่อมเยิ้มไหลออกมาในปากเลยล่ะ

 

8. Turkish Coffee

Strong spilled #turkishcoffee often served with (a complimentary) #turkishdelight. The coffee itself will keep your eyelids wide open for a big time. #กาแฟตุรกี เข้ม แรง ตาสว่างยันเช้าวันถัดไปค่า 5555 #turkey #coffee #wanderfulminds

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Aug 20, 2016 at 1:38am PDT

กล่องของฝาก กาแฟตุรกี ☕️☕️☕️ ใครจะได้ไปน้า #turkishcoffee #souvenir #turkey #wanderfulminds

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Aug 16, 2016 at 5:30am PDT

กาแฟตุรกี!! สำหรับฉันกลิ่นเหมือนเครื่องเทศผสมกาแฟ แต่เพื่อนชาวตุรกีบอกว่ามันไม่ได้ผสมเครื่องเทศแต่อย่างใด ฉันคิดว่ามันรสชาติแปลกๆ ไม่เหมือนกาแฟเลย หรือฉันยังไม่เจอร้านกาแฟดีพอก็ไม่รู้ แต่ มันแร๊งมากๆ เลยนะคะ ตาตื่นค้างหลายคืนทีเดียว

 

9. Sahlep

#sahlep a must-drink #Turkish beverage ทำจากนม หนาๆ ผสม กลิ่นซินนามอน (อบเชย) กับวนิลลา กลิ่นหอม ดื่มแล้วลื่นคอมากๆ #istanbul #turkey #wanderfulminds

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Aug 16, 2016 at 6:51am PDT

เครื่องดื่ม “ดอกกล้วยไม้” เป็นเครื่องดื่มอีกชนิดที่ดื่มกันอย่างแพร่หลาย ในสมัยช่วงอาณาจักรออตโตมัน (Ottoman Empire) ก่อนที่กาแฟ และชาจะเป็นที่โด่งดังแทรกเข้ามาในช่วงเวลาถัดมา เป็นผงดอกกล้วยไม้ ผสมนม รสชาติ หนานุ่ม ลื่นคอ อุ่นร้อนกินดีช่วงอากาศหนาวค่ะ ในผงที่ชงจากกล้วยไม้ ได้กลิ่นวนิลลา และอบเชย (ซินนามอน) หอมเบาๆ นุ่มคอมากๆ เลยล่ะ มีขายเป็นกล่องตามร้านค้าด้วยนะคะ หากซื้อคุณภาพดี ผสมน้ำตาลน้อย จะราคาสูงพอควรค่ะ (แพงกว่าเมล็ดกาแฟ)

 

10. Kokoreç

นี่คือ #kokoreç ทำจาก “อวัยวะ” แกะ/วัว ไม่ว่าจะเนื้ออะไร วัตถุดิบหลัก คือ ตับ ไต ไส้ พุง หนัง กึ๋น ทุกอย่างเลย หั่น และ บด ผสมกับเครื่องเทศ ดับกลิ่น รสจัดจ้าน #turkishdish #food #gourmet #wanderfulminds

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Aug 20, 2016 at 2:16am PDT

คืออาหารคล้ายกับของกินเล่นของที่นี่ เหมือน เบอร์เกอร์ แซนวิซ หรือพิซซ่า เป็น dürüm ชนิดหนึ่งที่เนื้อทำมาจาก อวัยวะภายใน ไส้ใน ตับ ไต ผสมกัน  ใส่เครื่องเทศเยอะๆ ดับกลิ่นคาวค่ะ

 

11. Islak Burger (Wet Burger)

#islakburger หรือ #wetburger ที่ #istanbul #turkey เป็นอาหารเด่น กินเล่น ที่เป็นเอกลักษณ์หนึ่งของที่นี่ ฉันคงไม่ได้ลองหรอกค่ะ หากเพื่อนชาวตุรกี ไม่บอก เพราะในสายตาฉัน มันเหมือนเบอร์เกอร์ทั่วไปเลย แต่ ที่อิสตันบูลนี้ “เบอร์เกอร์เปียก” มีความโดดเด่น ตรงที่ชิ้นเนื้อผ่านกระบวนการทำให้สุกด้วยการ “ต้ม” ค่ะ ไม่ได้ปิ้ง/ย่างอย่างเบอร์เกอร์อื่นๆ รสชาติหยึยๆ มีเอกลักษณ์ ราคาถูก (3 ลิร่า) คุ้มค่าต่อการลอง 🙂 #wanderfulminds Although this looks like an ordinary cheap burger, it’s not!!! It’s a WET burger, an Istanbul #localdish #gourmet

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Aug 17, 2016 at 8:14pm PDT

มันคือ “เบอร์เกอร์เปียก” เป็นอาหารของอิสตันบูลเลยล่ะค่ะ สิ่งแรกที่เพื่อนชาวตุรกีแนะนำให้ฉันลอง นอกจากขนมหวาน Baklava แล้ว ก็คือ ของคาว Islak Burger “มาอิสตันบูล ต้องกิน เบอร์เกอร์เปียก นะ” เธอบอกฉัน ที่มันเปียกเพราะว่าส่วนเนื้อของเบอร์เกอร์ ไม่ได้เอาไปปิ้งหรือย่าง แต่เอาไปต้มแทน เลยกลายเป็นเอกลักษณ์ของที่นี่ หาได้ตามร้านอาหารทั่วไปค่ะ ไม่ต้องเข้าร้านหรู ราคาประมาณ 3 ลิร่า เท่านั้น

 

12. Menemen

#menemen อาหารเช้าเฉพาะแบบ ดั้งเดิมของตุรกี ทำจาก #ไข่ #มะเขือเทศ #ชีส และเนื้อแบบต่างๆ แล้วแต่จะใส่/สั่ง เอกลักษณ์คือ #เครื่องเทศ #spice ที่ผสมเข้าไป ให้ได้รสชาติหอมๆ #wanderfulminds Menemen, a #Turkish #traditional #breakfast #dish made from eggs mixed with tomatoes, cheese, or else and spice. An easy cooked but unbelievably tasty dish! #gourmet

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Aug 19, 2016 at 1:08am PDT

อาหารเช้า ทำจากไข่ คล้ายไข่ scrambled eggs ตามแบบตะวันตกค่ะ ทำจากไข่ ผสมเครื่องเทศ ใส่ชีส พริกหยวก ไส้กรอก และเนื้อชนิดต่างๆตามใจสั่ง ตามร้านอาหารจะเสิร์ฟพร้อมขนมปัง ราคาประมาณ 10-18 ลิร่า เป็นอาหารพื้นๆ เหมือนทำง่าย แต่แต่ละร้านมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ขึ้นกับขนิดและปริมาณเครื่องเทศที่ใส่

 


อ่าน บทความท่องเที่ยวอื่นๆ คลิกที่นี่ ค่า

 

Filed Under: Food, Turkey Tagged With: อาหาร, อิสตันบูล

ลุย อิสตันบูล ตุรกี หลังปฏิวัติ: การแต่งกายเข้าสุเหร่า

September 6, 2016 By KaiMook McWilla Malany Leave a Comment

ลุย อิสตันบูล ตุรกี หลังปฏิวัติ

(การแต่งกายในสุเหร่า)

 

ความลำบากใจ วุ่นวายใจ เวลาเดินไปต่างประเทศ นอกจากจะเรื่อง การเดินทาง ห้องน้ำ อาหาร แล้ว ยังมีเรื่องบางเรื่องทีเราไม่ได้คาดคิด นั่นคือ “เรื่องทางวัฒนธรรมและศาสนา” ทั้งสองอย่างสอดคล้องกันสะท้อนออกมาเป็นรูปแบบการใช้ชิวิด

หนึ่งในสิ่งสำคัญที่ นักท่องเที่ยวอย่างเราควรตระหนักถึง เมื่อไปถึง ตุรกี คือ การแต่งกายเข้าสุเหร่าและสถานที่สำคัญทางศาสนา ค่ะ คนไทยอย่างเราค่อนข้างจะรู้ซึ้งถึงเรื่องนี้ดี เพราะที่ไทย เวลาเข้าวัด ก็ต้องแต่งกายสุภาพเช่นกัน ไปเที่ยววัดพระแก้ว หากแต่งไม่งาม ก็เหมือนการไม่เคารพ ไปสุเหร่าก็เหมือนกันค่ะ 

การแต่งกายเข้าสุเหร่า

ภาพข้างต้นฉันถ่ายมาจากทางเข้าเข้าสุเหร่า เป็นหลักเกณฑ์การแต่งกายให้สุภาพ แสดงความเคารพสถานที่ทางศาสนา

8 ข้อที่นักท่องเที่ยวควรตระหนักและปฏิบัติตาม

  1. สวนและพื้นที่ภายนอกของสุเหร่า มีความสำคัญไม่ต่างจากภายในสุเหร่า
  2. ให้แต่งกายตามภาพข้างต้น สุภาพและมิดชิด ทั้งบริเวณภายในและภายนอกสุเหร่า
  3. ชุดแต่งกาย มีให้ยืมฟรี ที่บริเวณด้านนอกของสุเหร่า 
  4. เมื่อใช้สุดที่ยืมเสร็จแล้ว กรุณาคืนที่ตำแหน่งที่ยืมมา
  5. กรุณาอย่าส่งเสียงดัง
  6. ห้ามถ่ายรูปหรืออัดวีดีโอระหว่างประกอบพิธี
  7. บุคคลที่มาเยี่ยมชมสุเหร่า (visitor) ให้อยู่บริเวณที่กำหนดไว้เท่านั้น (visitor’s area)
  8. ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สุเหร่า (มี ID) 

หากไม่ได้มาประกอบพิธีทางศาสนา ตรงนี้ห้ามเข้านะคะ

มีให้ชำระล้าง ทำความสะอาดด้วยค่า

บอกเล่าประสบการณ์

  • ตอนที่ฉันยืมชุด ไม่ได้คืนที่เดียวกันนะคะ เข้าทางหนึ่ง ออกอีกทางหนึ่ง ทางเข้ามีให้ยืม ทางออกมีตระกร้าให้คืนแยกออกมาต่างหากค่ะ
  • ถ่ายรูปได้นะคะ แต่ห้ามถ่ายตรงที่เค้าประกอบพิธี (เสียมารยาทค่ะ 555)
  • เค้าจะมีกำหนดไว้ชัดเจนนะคะว่า ตรงไหนคือ visitor’s area ไม่ต้องห่วงนะคะ 🙂

#life #Istanbul #turkey

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Sep 6, 2016 at 2:21am PDT

หากใช้คำศัพท์ทางศาสนาผิดพลาด ต้องขออภัย และโปรดชี้แจงให้แก้ไขด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ 😀

 


อ่าน บทความท่องเที่ยวอื่นๆ คลิกที่นี่ ค่ะ 🙂

 

Filed Under: Turkey Tagged With: การแต่งกาย, อิสตันบูล

ลุย อิสตันบูล ตุรกี หลังปฏิวัติ (museum pass)

September 5, 2016 By KaiMook McWilla Malany Leave a Comment

ลุย อิสตันบูล ตุรกี หลังปฏิวัติ

(Museum Pass)

 

Museum Pass เป็น ตั๋วเข้าสถานที่ท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ ค่ะ ที่อิสตันบูล เรียกว่า Muze Pass หน้าตาเป็นแบบนี้เลย (ข้อมูล สิงหาคม 2016) สีน้ำเงินแกมชมพู

บัตร Museum Pass อิสตันบูล 5 วัน ราคา 85 ลิร่า

 ภาพรวมของบัตรนี้

  1. ไม่ต้องรอคิว (fast track)
  2. 85 ลิร่า ถึอว่าถูกมาก หากเข้าชมหลายสถานที่
  3. อายุการใช้งาน 5 วัน หรือ 120 ชั่วโมง นับตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้

ถามว่าคุ้มหรือไม่ จะซื้อบัตรดีไหม

ทั้งหมดขึ้นกับว่า

  • คุณเองมีเวลาเยอะหรือเปล่า
  • ชื่นชอบพิพิธภัณฑ์และสถานที่ต่างๆ ที่กำหนดไว้ในบัตรนี้หรือไม่
  • สนใจสถานที่เหล่านี้มากน้อยแค่ไหน

หากไม่ค่อยสนใจนัก และชอบช็อปปิ้ง เดินซื้อของ ชมเมืองมากกว่า มีแค่ไม่กี่สถานที่ที่อยากเข้าไปดู (อย่างเช่น สถานที่หลัก ที่ใครมาอิสตันบูล ห้ามพลาด) แนะนำว่าไม่ต้องซื้อนะคะ ยกตัวอย่างเช่น หากสนใจเพียงแค่ Aya Sofia และ Blue Mosque หรือ Basilica Cistern ก็ไม่ต้องซื้อค่ะ เพราะค่าตั๋ว บัตรเดี่ยว ของสถานที่เหล่านี้ แม้จะเฉียดราคา 85 ลิร่า แต่ราคาโดยรวมก็คุ้มกว่า เพราะว่า

  • Aya Sofia ค่าเข้าชม 40 ลิร่า
  • Topkapi Palace ค่าเข้าชม 40 ลิร่า

ทั้งหมดนี้ 80 ลิร่า ค่ะ แต่หากสนใจไปเพิ่มอีกสักที่ ราคายังไงก็เกิน 80-85 ลิร่า ค่ะ หากเป็นแบบนั้นซื้อ Musuem Pass คุ้มกว่าแน่น๊อนค่า!! หลักการง่ายๆ คือ หากไปมากกว่า 2 ที่ ซื้อเล้ยย Museum Pass คุ้มค่าจริงๆ ฉันขอ ยืนยัน นอนยัน นั่งยัน 😀

ซื้อได้ที่ไหน

บัตรนี้ขายตามทางเข้าสถานที่ท่องเที่ยวนะคะ จุดขายตั๋วทุกที่ บอกเจ้าหน้าที่ว่าซื้อ Museum Pass ก็จะได้บัตรหน้าตาแบบข้างบนมาให้ แทนที่จะเป็นตั๋วประดาษใบเดียว ดังตัวอย่าง ภาพตั๋วราคา 40 ลิร่า ข้างล่าง

ตั๋วเดี่ยว เข้าชม Aya Sofya (Hagia Sophia) ราคา 40 ลิร่า

ข้อดี-ข้อเสีย ของตั๋วเดี่ยว และ museum pass

  • ตั๋วเดี่ยว ราคาแพงกว่าค่ะ ซื้อทีเดียวเข้าได้ทีเดียว จบ.
  • Museum pass ไม่ต้องรอคิวค่ะ (แต่คิวไม่ยาว)
  • Museum pass มี 2 ประเภท ตามจำนวนวัน คือ เข้าพิพิธภัณฑ์และสถานที่ท่องเที่ยวที่กำหนดให้ และเข้าได้ไม่อั้นถึง  300 สถานที่

สถานที่ท่องเที่ยว/พิพิธภัณฑ์ที่รวมใน Museum Pass

  1. Hagia Sophia (Aya Sofia)
  2. Topkapi Palace
  3. Istanbul Archeological Museums
  4. Museum of Turkish & Islamic Arts
  5. Museum for the History of Islamic Science & Technology
  6. Istanbul Great Palace Mosaic Museum
  7. Chora Church Museum
  8. Rumeli Hisari
  9. Yildiz Palace
  10. Galata Mevlevihanesi
  11. Istanbul Fethiye Museum

เคล็ด

  • สนใจเข้า 2 ที่ ขึ้นไป (ที่รวมใน Museum Pass รายชื่อข้างบน) ซื้อเลยค่ะ
  • หากมีเวลาน้อย สนใจชมแต่ด้านนอกอาคารสถาน และ เข้าชม Blue Mosque ฟรีๆ ไม่ต้องเสียตังค์ก็มีพอควร
  • เช่น Blue Mosque เนี่ย ค่าเข้าชม ฟรี ค่า!!!
  • Basilica Cistern ค่าเข้าชม ไม่รวม ใน Museum Pass นะคะ (เสียเพิ่มอีก คนละ 20 ลิร่า)

 


อ่าน บทความ รีวิว ตุรกี และ บทความท่องเที่ยวอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่

 

 

Filed Under: Turkey Tagged With: อิสตันบูล

บอกเล่าประสบการณ์: คณะ อักษรศาสตร์ เรียนอะไร (ต่อ)

September 4, 2016 By KaiMook McWilla Malany Leave a Comment

คณะ อักษรศาสตร์ เรียนอะไร

(สืบเนื่องจากบทความแรก คลิกอ่านที่นี่ ได้เลยค่ะ)

 

บทความนี้ เขียนโดย “อิ่ง” คนในภาพข้างล่างนะคะ ไข่มุกขอให้อิ่งช่วยบอกสั้นๆ ว่า อิ่ง ได้อะไรจากการเรียนคณะอักษรศาสตร์ แต่เพื่อนคนนี้ ยิงยาวมาเป็นบทความเลยค่ะ เลยขอมอบโพสทั้งโพส ให้เพื่อนคนเก่งคนนี้ที่ตอนนี้ หลังจากเรียนจบปริญญาตรีคณะอักษรศาสตร์ ก็ไปศึกษาต่อปริญญาโทด้านกฎหมาย ที่ไต้หวัน เรียบร้อยแล้ว

  • ปัจจุบัน “อิ่ง” เรียนที่ มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน (จีนตัวย่อ: 国立臺湾大学; จีนตัวเต็ม: 國立臺灣大學)
  • สาขา: Graduate Institute of Interdisciplinary Legal Studies (เธอแปลเองเป็นไทยว่า “สถาบันบัณฑิตกฎหมายเพื่อสหวิทยาการ”)

 

อิ่ง (อักษรฯ 79): ป.โท Graduate Institute of Interdisciplinary Legal Studies มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน

 

“ถามว่าอักษร ๔ ปี เรียนแล้วได้อะไร? 

อักษรมิใช่สายวิชาชีพ ไม่สอนคุณเดินสายไฟ คำนวนงบดุล วาดแผนผังอาคาร จะพูดว่าสิ่งที่เรียนไปไม่สามารถใช้ “แบบจับต้องได้” ในชีวิตจริงเลยก็ว่าได้ เราเรียนการใช้ภาษาและวิเคราะห์โครงสร้างภาษา เราเรียนประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ปรัชญาและศิลปะ เราเรียนรู้โดยการอ่านบทประพัทธ์ของนักประพันธ์ทั้งไทยและเทศ เราวิเคราะห์ตัวละครต่างๆ ที่เปรียบเสมือนตัวย่อของมนุษย์ในโลกแห่งความเป็นจริง ตั้งแต่การกระทำ ความคิด รวมไปถึงความรู้สึก ทักษะทางด้านภาษาถือว่าเป็นเพียงผลพลอยได้จากการอ่านอย่างหนักหน่วงของเด็กอักษรเท่านั้น

แล้ว

อักษรสอนไรล่ะ?

อักษร สอนคุณให้คิดอย่างมีวิจารณญาณ หลุดพ้นจากกรอบความคิดที่สังคมและสิ่งแวดล้อมหล่อหลอมเราขึ้นมา เปิดอกยอมรับพร้อมชื่นชมความต่างระหว่างศาสนา วัฒนธรรม ชาติพันธุ์ และทัศนคติ เรียนรู้ความต่างระหว่าง คน มนุษย์ และปัจเจกชน พิจารณา อะไรคือ ถูก อะไรคือ ผิด? ทำไมเราถึงคิดว่ามัน ถูก หรือ ผิด? อะไรคือ งาม? อะไรคือ ทราม? ทำไมเราถึงคิดว่ามัน งาม หรือ ทราม?

๔ ปีผ่านไป ถามว่าฉันรู้หรือยังว่าอะไรคือ ถูก ผิด งาม ทราม? คำตอบคือ ยังค่ะ ฉันยังไม่รู้

และอักษรก็ทำให้ฉันเข้าใจว่า ฉันไม่มีวันรู้ เนื่องจากบรรทัดฐานในใจของทุกคนไม่เหมือน ใครจะสามารถตัดพ้อได้ว่าสิ่งที่เขาทำและคิด ถูกและดีที่สุด?

อ่านถึงจุดนี้ หลายคนคงสงสัยว่า แล้วจะเรียนไปทำไม ในเมื่อในที่สุดก็ไม่มีวันรู้? ฉันตอบว่า ผลลัพธ์ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด กระบวนการคิดสิที่สำคัญ “I think therefore I am.” (ฉันคิด ดังนั้น ฉันจึงมีอยู่) เป็นวลีประจำใจฉัน อักษรสอนให้ฉันคิด สอนให้ฉันตั้งคำถามกับชีวิต สอนให้ฉันมองเห็นคุณค่าของชีวิต และสอนให้ฉันพิจารณาค่านิยมต่างๆที่ฉันเคยมี

ยกตัวอย่างเช่น ภายใต้กระแสวัตถุนิยมและโลกกาภิวัตน์ ทุกคนถูกออกแบบและคาดหวังให้เป็นไปตามความนิยมของสังคม เช่นสังคมไทย ผู้หญิงต้องผอม ยิ่งผอมยิ่งสวย ผอมจนต่ำกว่าค่ามาตรฐาน เพื่อผอมยอมทำร้ายร่างกาย จะมีสักกี่คนหวนกลับไปคิดว่า ทำไมต้องผอม? ผอมเพื่ออะไร? ผอมแล้วได้อะไร? แน่นอนว่าถ้าเราผอมเพื่อสุขภาพที่ดี ย่อมมีเหตุผล เราต้องการร่างกายที่แข็งแรงเพื่อดำรงชีวิตอย่างมีความสุข แต่ถ้าเราผอมจนทำร้ายร่างกายเพียงเพื่อ(เหมือนจะ)เป็นที่ยอมรับและชื่นชมในสายตาคนอื่น ฉันคิดว่า เราควรกลับมาทบทวนทัศนคิตของเราใหม่ เรามักจะใช้คำว่า หุ่นดี ในการชื่นชมรูปร่างภายนอกของคน คำว่าหุ่นทำให้ฉันนึกถึง หุ่นโชว์เสื้อ ซึ่งมีต้นแบบมาจากรูปร่างมนุษย์ เดิมมีไว้โชว์เสื้อ และแล้ว ไม่รู้เรื่มจากตั้งแต่เมื่อไหร่ หุ่นโชว์เสื้อกลับกลายเป็นต้นแบบรูปร่างของมนุษย์ ผู้ผลิตเสื้อออกแบบเสื้อตามรูปร่างของหุ่นโชว์เสื้อ หลายๆคนอยากได้หุ่นแบบหุ่นโชว์เสื้อ หุ่นแบบหุ่นโชว์เสื้อถึงจะงามและดี ทั้งๆที่ในความเป็นจริงสัดส่วนของหุ่นโชว์เสื้อผอมต่ำกว่ามาตรฐานรูปร่างมนุษย์ที่ควรจะเป็น แต่แล้ว หลายๆคนพยายามทำรูปร่างให้เหมือนหุ่นโชว์เสื้อ แทนที่จะเหมือนมนุษย์ หุ่นของหุ่นเป็นที่นิยมกว่าหุ่นของมนุษย์? ถึงจุดนี้คุณคงไม่เข้าใจโลกนี้เหมือนที่ฉันไม่เข้าใจ นี่แหละคือตัวอย่างที่เด็กอักษรเรียนและคิด

ถามว่า คิดแล้วได้อะไร? การเปลี่ยนแปลงค่านิยมสังคมไม่ใชเรื่องง่าย คิดได้แล้วทำไม? โลกนี้ยังคงเป็นเหมือนเดิมนิ ฉันตอบได้เพียงว่า เมื่อฉันคิด อย่างน้อยโลกของฉันเปลี่ยนไป เมื่อฉันได้คิด ฉันก็สามารถเลือกได้ว่าจะตามกระแสสังคมหรือไม่ เมื่อฉันได้คิด ฉันมีอิสระเลือกที่จะเป็นในสิ่งที่ฉันอย่างเป็น อักษรสอนให้ฉันคิดอย่างมีวิจารณญาณในการเลือกที่จะเป็นตัวของตัวเอง นี่หรือมิใช่สิ่งที่ทำให้มนุษย์ต่างจากสัตว์อื่น?

สรุป โลกของเด็กอักษร คือ โลกสีเทา เราไม่สามารถแบ่งทุกอย่างเป็นสองกลุ่ม ขาวหรือดำ ดีหรือเลวได้อย่างสิ้นเชิง และโลกแห่งความเป็นจริงก็เป็นเช่นนั้น อักษรสอนให้คิด สอนให้ตั้งคำถาม ถึงแม้จะไม่ได้คำตอบ แต่อย่างน้อยเมื่อเราได้คิดเราเข้าใจโลกและตัวเรามากขึ้น อักษร ๔ ปี คือการฝึกฝนให้คิดให้เป็นนั่นเอง”

 

กลับมาโลกแห่งความเป็นจริงกันบ้าง

ถามว่า เรียนไป ๔ ปีก็แค่คิดได้ เรียนหนักกว่าคนอื่น (รุ่น ๗๙ กำหนดนิสิตอักษรต้องเก็บให้ครบ ๑๕๐หน่วยกิจ ขณะที่คณะอื่นเพียงประมาณ ๑๓๐ หน่วยกิจก็จบแบบสวยๆ) เงินเดือนเริ่มต้นก็น้อย (เท่าที่ฉันรู้มา ๑๕,๐๐๐ ถึง ๒๓,๐๐๐ บาทเอง ถ้าได้ภาษาที่สามอาจได้ถึง ๓๐,๐๐๐ บาทจากนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถและความพยายามของบุคคล) จะเรียนไปทำไม? คุ้มหรอ? ถามฉันว่าถ้ามีเครื่องย้อนเวลากลับไปแก้ไขอดีต ฉันจะยังคงเลือกเรียนอักษรหรือไม่? ฉันตอบได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า อักษรเป็นทางเลือกเดียวและทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับฉันค่ะ ก่อนลงมือทำทุกอย่างล้วนต้องคิดก่อน ถ้าคิดไม่เป็นจะทำให้ดีได้อย่างไร? ถ้าไม่เคยคิดจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่ทำอยู่คือสิ่งที่อยากได้? ความรู้ด้านสาขาวิชาชีพอื่นคุณเรียนได้นอกคณะอักษร นอกรั้วมหาวิทยาลัย ยิ่งสมัยนี้เทคโนโลยีก้าวไกล กูเกิ้ลบอกคุณได้ทุกอย่าง อยากรู้อะไรไม่ต้องเสียเวลาเสียเงินลงทะเบียนนั่งเรียน นอกจากนี้วิชาความรู้ของศาสตร์อื่นอาจโดนความรู้ใหม่แทนที่ตามยุคสมัย สิ่งที่เรียนอาจไม่สามารถใช้งานได้ตลอดชีพหากคุณหยุดพัฒนาตนเอง แต่กระบวนการคิด วิธีคิดต้องใช้เวลาปลูกฝัง สั่งสม หล่อหล่อมและปรับเปลี่ยน ใช้เวลาเรียนอักษร ๔ ปี ได้ทักษะคิดเป็นและคิดได้ตลอดชีวิต จะมีอะไรคุ้มไปกว่าเรียนคณะนี้?

ฉันภูมิใจที่ได้เป็นนิสิตอักษรค่ะ” 

 


  • บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง: นิสิต อักษรศาสตร์ เรียนอะไร จบมาทำอะไร
  • บทความอื่นๆ ในหมวดหมู่ การศึกษา คลิกที่นี่

 

 

Filed Under: Education Tagged With: อักษรศาสตร์

ลุย อิสตันบูล ตุรกี หลัง ปฏิวัติ 2: สถานที่ท่องเที่ยว การเดินทาง

August 27, 2016 By KaiMook McWilla Malany Leave a Comment

ลุย อิสตันบูล ตุรกี หลังปฏิวัติ 2

(สถานที่ท่องเที่ยวหลัก 1 การเดินทาง)

มาตุรกี สถานที่ที่พลาดไม่ได้แน่ๆ ก็คือ

  1. Aya Sofia 
  2. Blue Mosque
  3. Basilica Cistern 
  4. Topkapi Palace 
  5. Grand Bazar
  6. Egyptian/Spice Bazar

ทั้งหมดนี้อยู่ในย่านเดียวกันนะคะ มีอื่นๆ อีกหลายสถานที่ในระแวกเดียวกันด้วย ส่วนใหญ่เป็นพิพิธภัณฑ์ แนะนำ 6 สถานที่นี้เป็นหลัก สามารถเดินเท้าจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งได้ ง่ายมากๆ เลยล่ะ

เริ่มแรกเลย การเดินทาง ไม่ว่าจะมาจากที่ไหนในอิสตันบูลก็ตาม มีตัวเลือกทั้งหมดหลายทาง ตามนี้เลยค่ะ

การเดินทาง

  1. นั่ง Tram 1 (รถรางสาย 1) มาลงที่สถานี Sultanahmet
  2. นั่งบัส สาย 81, BN1, BN2 ลงป้าย Akbiyik
  3. นั่งใต้ดิน (เมโทร) สาย M5 ลงที่สถานี Marmaray Sirkeci Istasyonu
  4. นั่งเรือ ferry สาย V4 หรือ V5 ลงที่ Sirkeci

อย่างที่เห็นค่ะ สามารถเดินทางได้หลายวิธีตามสะดวกเล้ย จากป้ายที่ลงอาจต้องเดินใกล้-ไกลบ้าง ไม่เกิน 1 กิโลเมตร สำหรับฉัน ฉันเลือกนั่งรถราง เพราะ เร็ว รถไม่ติด และเห็นตัวเมือง ที่สำคัญคือ เดินใกล้ที่สุดค่ะ หากจาก Aya Sofia เพียงแค่ 300 เมตร เอง

เพิ่มเติม: มีเส้นทางเดินทางสาย/วิธีอื่นมาย่าน Sultanahmet อีกมากมายเลย 3 วิธีที่เสนอมา เป็นวิธีที่สะดวกที่สุดแล้ว

พอลงจากรถราง ที่ สถานี Sultanahmet จะเห็นตึกอาคารสถานที่ท่องเที่ยว และผู้คนเดินขวักไขว่หลากหลาย มีร้านขายของตามทางเยอะมาก รับรองตื่นตาตื่นใจสุดๆ เลยค่ะ

ลานน้ำพุ คั่น แหล่งสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ Aya Sofia และ Blue Mosque

https://wanderfulminds.com/wp-content/uploads/2016/09/Optimized-tramoutside.jpg
จากรถราง เดินไปจะเห็นน้ำพุ และตึกสีส้มแกมชมพูอ่อน และเทาฟ้าอยู่คนละฝั่ง

 

1. ตึกสีส้มแกมชมพูอ่อน Hagia Sophia หรือ Aya Sofia นั่นเองค่ะ

ภายนอกรถรางหน้าตาแบบนี้เลยค้า มีหลายสี หลายแบบ วิ่งถี่มาก

 

 

(รายละเอียดเพิ่มเติม การเดินทาง คลิกที่นี่)

ที่นี่คือสุเหร่าที่เ่ก่าแก่โบราณม้ากกกกกก ภายในค่อนช้างทรุดนะคะ แสดงถึงอายุตั้งแต่แรกสร้าง สีนสันภายในไม่ได้งดงามแจ่มเหมือนสถานที่อื่นๆ ที่เกิดการบูรณะจนดูเกินจริง

#interior #destruction ภายในสุเหร่าโซเฟีย เพดาน เป็นลวดลายจิตรกรรมโบราณ ที่ตอนนี้สีลอก หมดแล้วค่า เพดานหลุดลุ่ย #มีความเก่าแก่ #hagiasophia #ayasofya #istabul #turkey #ceiling #wanderfulminds

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Aug 16, 2016 at 9:49pm PDT

พื้นหินอ่อนใน #ayasofya หรือ #hagiasophia ที่เป็นรอยบุ๋มจากร่องรอยการกัดเซาะของฝีเท้า ???? 5555 บ่งบอกอายุการใช้งานมากๆ สุเหร่านี้มีมาตั้งแต่ช่วงอาณาจักรออตโตมันแล้วค่ะ นานมากๆ ก่อนหน้านี้เคยเป็นโบสถ์ ปัจจุบันกลายเป็นพิพิธภัณฑ์แล้ว #หินอ่อน พบได้ทั่วไป ทั้งทางเดิน และเสา ที่ใช้ค้ำ ต่างมีรอดทรุดทั้งนั้น #istanbul #turkey #marble #wanderfulminds

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Aug 16, 2016 at 9:38pm PDT

สุเหร่าโซเฟียนี้สร้างตั้งแต่สมัยกรุงคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) นู้นแน่ะ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 เลยล่ะค่ะ

ทางเดิน จากต้นทางสุเหร่า ไปยัง จุดต่างๆ ค่ะ

The Last Supper

จิตรกรรมฝาผนังในสุเหร่าค่ะ เลือนลางหมดแล้ว

มีสองชั้นนะคะ ในอดีตกาลเคย เป็นโบสถ์ เป็นสุเหร่า และปัจจุบันนี้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ ให้เราได้เข้าเยี่ยมชมไปแล้วค่ะ

ค่าเข้า: 40 ลิร่า

ก่อนเข้าสถานที่ท่องเที่ยวทุกแห่ง มีเจ้าหน้าที่ตรวจบัตร และเครื่องสแกนตรวจสิ่งของทุกครั้ง

A #cat in #sunlight เดินเจอแมวตัวนี้ในพิพิธภัณฑ์สุเหร่า #hagiasophia หรือ #ayasofya อันเลื่องชื่อแห่ง #istanbul #turkey ลมเย็นสบาย แมวน้อยนั่งกลางแสงแดดในอาคาร เป็นแบบให้นักท่องเที่ยวอย่างเราได้ถ่ายรูปเล่น #wanderfulminds

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Aug 15, 2016 at 8:06am PDT

2. ส่วนตึกสีเทาฟ้า อีกฝั่ง คือ Blue Mosque

#life in front of the #bluemosque #istanbul #turkey #wanderfulminds

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Aug 16, 2016 at 6:58am PDT

ค่าเข้า: ฟรี!!! (ดีใจ วิ่งรอบเมือง)

ภายใน ก่อนจะเข้าไปในสุเหร่าค่ะ

ภายในสุเหร่าค่ะ สังเกตนะคะว่าต้องถอดรองเท้าด้วย เหมือนเข้าวัดไทยที่บ้านเราเลย 🙂

Blue Mosque สร้างขึ้นโดย Sultan Ahmet I ในสมัยศตวรรษที่ 17 ตอนพระองค์ทรงพระชนมายุ 19 พรรษา ใช้เวลาสร้าง 7 ปี

Another part of #Istanbul that I can't really remember. Took it on a way to some other places 🙂 #turkey what a fascinating place to visit #wanderfulminds

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Aug 18, 2016 at 1:49am PDT

Inside the #bluemosque #istanbul #turkey #wanderfulminds

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Aug 16, 2016 at 5:28am PDT

ปัจจุบัน ยังคงใช้เป็นแหล่งทางศาสนา นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้ แต่ต้องสำรวม สุภาพ และแต่งกายเรียบร้อย ดังน้ี

การแต่งกาย เข้มงวดพอควร หญิง-ชาย ดูตามภาพนี้ได้เลยค้า

(อ่านรายละเอียด เรื่องการแต่งกายเข้าสุเหร่า คลิกที่นี่ ค่า)

อยู่ตุรกีต้องทำตัวกลมกลืน วันแรกมาถึงก็เข้าสถานที่ทางศาสนา "สุเหร่า" รู้สึกดีนะคะ เหมือนเป็นส่วนหนึ่ง ศาสนาหล่อหลอมจิตใจ คนที่นี่เป็นมิตรมาก พูดคุย ยิ้มให้ตลอด ขอถ่ายรูปก็ถ่ายด้วย เค้ายึดมั่นในความเชื่อ และมีความมั่นคงต่อความเชื่อของตน ชอบมาก ก้าวแรกเหยียบลงประเทศนี้ก็มีความสุขแล้ว #อิสตันบูล #ตุรกี #istanbul #turkey #bluemosque loving the country and the people #wanderfulminds

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Aug 14, 2016 at 9:03am PDT

ตอนฉันไปก็ได้ไป กลมกลืน กับเค้าด้วยนะคะ 🙂

 

บทความถัดไป นอกจาก สถานที่ท่องเที่ยวหลักอื่นๆ เราจะมาดู ข้อควรรู้ เรื่อง ตั๋ว museum pass ว่า ราคาเท่าไร คุ้มแค่ไหน ควรซื้อดีไหม คลิกที่นี่ เลยค่าาา 😀

 


อ่าน บทความ รีวิว ตุรกี และ บทความท่องเที่ยวอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

  • ลุย อิสตันบูล ตุรกี หลังปฏิวัติ 1: เกริ่นนำ การเดินทาง ทั่วไป
  • บทความ ท่องเที่ยว อื่นๆ 

 

Filed Under: Turkey Tagged With: อิสตันบูล

  • « Previous Page
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • …
  • 7
  • Next Page »

KAIMOOK MALANY

ฉันโตมากับการไม่อยู่เป็นหลักแหล่ง ฉันสู้ ดิ้นรน ปรับตัว เป็นฉันในวันนี้ ที่ยิ้มเก่ง ช่างพูด กล้าถาม ชื่นชอบการพบปะผู้คน รักการเรียนรู้ หลงรักการผจญภัย และอยู่อย่างสันโดษได้ นอกจากจะเพราะครอบครัวที่รักและคอยให้การสนับสนุนฉันแล้ว ส่วนหนึ่งยังเป็นเพราะตัวฉันที่ไม่ชอบอยู่นิ่ง (wander) สิ่งที่ฉันได้เจอ ศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้เป็นความน่าหลงใหล (wonderful) ที่ฉันอยากจะแลกเปลี่ยนแบ่งปัน ทุกอย่างที่เขียนขึ้นกลั่นออกมาจากใจฉันเองค่ะ (minds)

Join the Social Conversation

  • Facebook
  • Instagram
  • Pinterest

Copyright © 2015-2019 · Squiddy Productions · This site powered on interstellar cognitions · Privacy