wanderfulminds

When you wonder, your mind wanders, and you realize how wonderful everything is

  • Home
  • Stories & Guides
  • Facts & Tips
  • Brains & Minds
  • Languages
  • Education
  • Hire me!
  • Contact
You are here: Home / Archives for Travelling Tips

ขั้นตอนการเปิดบัญชี blocked account

September 25, 2016 By KaiMook McWilla Malany Leave a Comment

ขั้นตอนการเปิดบัญชี blocked account 

นักเรียนต่างชาติที่ไปศึกษาต่อประเทศเยอรมันเปิดบัญชีนี้เพื่อเป็นหลักค้ำประกันในการยื่นขอวีซ่า ยืนยันว่าเรามีค่าใช้จ่ายเพียงพอที่จะอยู่ในประเทศ บัญชีนี้เรียกว่า “blocked account” ส่วนใหญ่เปิดกับ Deutsche Bank ที่เรียกว่า “บัญชีที่ถูกบล็อกไว้” เพราะเงินในบัญชีจะถอนออกมาไม่ได้โดยเด็ดขาดจนกว่าจะไปถีงประเทศเยอรมัน และจำนวนเงินถูกกำหนดไว้ไม่ให้ถอนเกินจำนวน xxx ยูโร ต่อ เดือน

 


ข้อควรปฏิบัติ 

เปิดบัญชีให้เร็วที่สุด รีบดำเนินเรื่อง ทำเอกสาร ปกติใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์หลังจากส่งเอกสารไปที่เยอรมันค่ะ แต่กระบวนการจะยาวและนานกว่านั้นเพราะก่อนส่งเอกสารไปที่เยอรมันต้องให้สถานทูตปั้มตรายืนยันก่อนอีกที (นัดล่วงหน้าก่อนไปสถานทูต)

ก่อนส่งเอกสารขอเปิดบัญชีไปเยอรมัน เตรียมเอกสารต่างๆ ให้พร้อม ดังนี้

  1. สำเนาพาสปอร์ต
  2. ใบตอบรับจากทางมหาวิทยาลัย
  3. เอกสารแบบฟอร์มจากธนาคาร
  4. ส่งไปที่:

Deutsche Bank
Privat- und Geschäftskunden AG Alter Wall 53
20457 Hamburg
Germany

เมื่อธนาคารได้รับเอกสารครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว ธนาคารจะติดต่อกลับมาทาง “อีเมลล์” ที่เรากรอกไว้ในใบสมัคร

** ธนาคารรับเฉพาะเอกสารฉบับจริงเท่านั้น กรุณาอย่าส่งเอกสารสำเนา ไม่ว่าจะ สแกน หรือ ถ่ายเอกสาร และห้ามส่งไปทางอีเมลล์ด้วยนะคะ มิฉะนั้นเอกสารจะไม่ได้เริ่มดำเนินการเลย

** กรอกอีเมลล์ในใบสมัครให้ชัดเจน และเข้าไปตรวจเช็คเสมอ ตรวจดูใน junk mail ด้วย

เมื่อได้รับอีเมลล์จากธนาคารแล้ว จะเห็นว่าในอีเมลล์ประกอบด้วย เลขบัญชี ของเรา จะมี

  • Branch number
  • Account number
  • Bank code (BLZ)
  • IBAN
  • Bank ID code

จากนั้นก็โอนเงินได้ค่ะ โอนไป ตามรายละเอียด ดังนี้

  • อยู่ 6 เดือน โอน (725*6)+50 = 4,400 ยูโร
  • อยู่ 8 เดือน โอน (725*8)+50 = 5,850 ยูโร
  • อยู่ 10 เดือน โอน (725*10)+50 = 7,300 ยูโร
  • อยู่ 12 เดือน โอน (725*12)+50 = 8,750 ยูโร

รายละเอียดเพิ่มเติมการเปิดบัญชีธนาคาร คลิกที่นี่

 

 

Filed Under: Germany, Travelling Tips Tagged With: วีซ่า, เยอรมัน

โรคจากการขึ้นที่สูง

June 22, 2016 By KaiMook McWilla Malany Leave a Comment

Mountain sickness

 

#pulpitrock #stavanger #norway #hike #nature #lake #sky #wanderfulminds

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Jun 12, 2016 at 10:52pm PDT

 

ฉันเพิ่งอ่านข่าวทันตแพทย์หญิงไทยพิชิตยอดเขาเอเวอเรสไปหมาดๆ ยังทึ่งในความแข็งแกร่ง และชื่นชมความกล้าหาญของเธอได้ไม่นานนัก ก็ได้ข่าวครูสาวชาวออสเตรเลียเสียชีวิตระหว่างเดินทางไปพิชิตยอดเขาลูกเดียวกัน (Another death on Mt Everest, Australian lecturer dies near Camp IV, The Himalayan Times)

เป็นเรื่องน่าเศร้าใจไม่น้อย พลันให้คิดว่า สุขภาพร่างกายแม้จะสำคัญแค่ไหน ร่างกายจะแข็งแรงเพียงใด ต่อให้ไม่ประมาท แต่ธรรมชาติที่แม้จะสวยงามก็ยังมีพิษภัยที่มนุษย์อย่างเราบางทีอาจควบคุมไม่ได้อยู่ดี

อาจารย์มาเรีย อาลิซาเบธ สตรีดอม (Dr. Maria Elizabeth Strydom) จบชีวิตลงด้วย “โรคจากการขึ้นที่สูง” (Altitude sickness/illness หรือ Mountain sickness) เป็นอาการที่เกิดจาก การขึ้นไปอยู่ในพื้นที่ที่มีความมีสูงตั้งแต่ประมาณ 2,100เมตร (7,000 ฟุต) จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เช่น ตามบริเวณยอดเขา ภูเขา

พอไปอยู่บนที่สูงมาก จะเกิดอาการ Acute Mountain Sickness (AMS) เกิดจากการที่ร่างกายปรับตัวไม่ทันในสภาวะที่มีออกซิเจนน้อย ทำให้ปวดหัว มึนศีรษะ เหนื่อย หอบ หายใจเร็ว

  • อาการ
  • ปวดหัว
  • เหนื่อย
  • มึนศีรษะ
  • หน้ามืด
  • ไม่อยากอาหาร
  • นอนไม่หลับ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • อาการคล้ายคนเมา/เมาค้าง

โดยทั่วไปแล้วร่างกายอาจปรับตัวได้ ภายในระยะเวลา 1-2 วัน แต่หากเป็นต่อเนื่อง และยังฟืนเดินทางต่อไป (ปีนเขาขึ้นไปที่สูงต่อไปอีก) อาการอาจรุนแรงมากขึ้นถึงขั้นเสียชีวิต อย่างไรก็ดี แม้จะหยุดเดินทางแต่ร่างกายบางคนก็สู้ไม่ได้ ทำให้อาการไม่ดีขึ้น

ปัจจัยเสี่ยง
ข้อควรพึงระวังคือ เราไม่อาจรู้ล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดอาการเหล่านี้หรือไม่ เมื่อเดินทางขึ้นที่สูง จากข้อมูลพบว่า “แม้จะสุขภาพดีแค่ไหน ร่างกายที่แข็งแรงก็ไม่ได้ช่วยลดอัตราการป่วยเป็นโรคจากที่สูงเลย” เท่าที่ทราบคือ บุคคลที่มีอัตราเสี่ยงมากกว่าบุคคลทั่วไป คือ บุคลลที่

  • มีปัญหาสุขภาพปอด
  • มีปัญหาเรื่องการหายใจ (หอบ หืด)
  • มีประวัติสุขภาพเคยเป็นโรคจากการข้ึนที่สูงมาก่อน
  • ดื่มแอลกอฮลอ์ก่อนปีนป่าย/ขึ้นที่สูง
  • ปีนป่าย/ขึ้นที่สูงอย่างรวดรเร็วภายใน 1 วัน: เดินทางขึ้นที่สูง 9,000 แมตร ต่อ วัน
  • ไม่ได้อยู่ที่สูงมาก่อน

How can you not fall in love with nature? #hike #adventure #naturelovers #wanderfulminds #ocean

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on May 14, 2016 at 4:28am PDT

 

วิธีป้องกัน

  • หากมีอาการ ให้พัก หยุดเดินทาง และทานยานอนหลับ
  • ห้ามดื่มแอลกอฮล์
  • หลังจากมีอาการ หากภายใน 24-48 ชั่วโมง อาการยังไม่ดีขึ้น ควรหยุดเดินทาง และกลับลงสู่ที่ต่ำ

 

นี่เป็นเพียงหนึ่งในอาการขึ้นแรกและโรคจากการขึ้นที่สูง ยังมี น้ำท่วมปอด หรือ ภาวะปอดบวมน้ำจากที่สูง High altitude pulmonary edema (HAPE) ที่อันตรายรุนแรงถึงชีวิตเช่นกัน

ป้องกัน และดูแลตัวเองดีๆ นะคะ

 

 


*ข้อมูลแปลและดัดแปลงจาก “Patient information: High altitude illness (including mountain sickness) (Beyond the Basics), Gallagher S et al, 2016”

 

Filed Under: Travelling Tips Tagged With: ไฮกิ้ง

เปิดบัญชีธนาคาร Blocked Account Deutsche Bank

May 20, 2016 By KaiMook McWilla Malany 6 Comments

 

เวลาจะมาอยู่เยอรมัน โดยต้องใช้ วีซ่าเพื่อการศึกษา มาเรียนภาษา หรือมาเรียนศึกษาต่อ นอกจากจะต้องดำเนินการทำเรื่องขอวีซ่าให้เป็นไปตามขั้นตอนแล้ว ยังต้อง เปิดบัญชีธนาคารที่เยอรมันด้วย

พูดง่ายๆ คือ หนึ่งในเอกสารทั้งหมดที่จะทำให้ขอวีซ่าได้ คือ “หลักฐานการเงิน”

โดยทั่วไปที่ขอวีซ่าแล้วพูดถึงหลักฐานการเงิน เราสามารถใช้เอกสารรับรองทางการเงินจากธนาคารไทยได้ แต่!!! กรณีขอวีซ่าเพื่อการศึกษามาอยู่ที่เยอรมัน ใช้เอกสารรับรองทางการเงินของไทยไม่ได้นะคะ!!! ต้องเป็นบัญชีที่เยอรมันเท่านั้น!!!

 


ซึ่งหลักฐานการเงินเนี่ย มี 2 กรณี

  1. ได้ทุน
  2. จ่ายเอง

หาก (1) ได้ทุน: ผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาจะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่า กรณีนี้ ไม่ต้องเปิดบัญชีค่ะ แต่ให้ “แสดงหลักฐานการได้รับทุนจากองค์กรหรือสถาบันของรัฐในประเทศเยอรมนี”

หาก (2) จ่ายเอง: ผู้เดินทางต้อง “เปิดบัญชีในเยอรมนีประเภท Blocked Account จำนวน 8,700 ยูโร” (ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 24 กันยายน 2016) จำนวนเงินข้างต้น คือ ต่อปี นะคะ หมายความว่า อยู่ที่เยอรมัน 1 ปี โอนเงินไป 8,700 ยูโร หากอยู่น้อยหรือมากกว่านั้น ให้โอนไปตามจำนวนเดือนที่เราอยู่ (เดือนละ 725 ยูโร) แนะนำว่าโอนเดือนละ 800 ยูโร ปลอดภัยที่สุดค่ะ

**อย่าลืม โอนเงินเกินจำนวนที่กำหนด 50 ยูโร เป็นค่าโอนที่ธนาคารจะหักปลายทาง ด้วยนะคะ

ตัวอย่าง โอนเงินตามจำนวนที่เค้ากำหนดเป๊ะๆ 

  • อยู่ 6 เดือน โอน (725*6)+50 = 4,400 ยูโร
  • อยู่ 8 เดือน โอน (725*8)+50 = 5,850 ยูโร
  • อยู่ 10 เดือน โอน (725*10)+50 = 7,300 ยูโร
  • อยู่ 12 เดือน โอน (725*12)+50 = 8,750 ยูโร

ตัวอย่าง โอนเงินตามจำนวนที่เกินออกมา เพื่อความปลอดภัย และสบายใจ 

  • อยู่ 6 เดือน โอน (800*6)+50 = 4,850 ยูโร
  • อยู่ 8 เดือน โอน (800*8)+50 = 6,450 ยูโร
  • อยู่ 10 เดือน โอน (800*10)+50 = 8,050 ยูโร
  • อยู่ 12 เดือน โอน (800*12)+50 = 9,650 ยูโร

*แต่หากเป็นกรณีจ่ายเอง โดยมีผู้ออกค่าใช้จ่ายที่อาศัยในเยอรมนี ต้องมีหนังสือรับรองความรับผิดชอบและค่าใช้จ่ายตามมาตรา 66-88 ของกฎหมายว่าด้วยการพำนักอาศัย (กรณีนี้ไม่ขอกล่าวถึงนะ)

  • รายละเอียดเพิ่มเติมการเปิดบัญชี blocked account คลิกที่นี่

ทำไมต้องเปิด Blocked Account?

หลายคนอาจสงสัยว่าเปิดทำไมให้ยุ่งยาก เงินในบัญชีที่ไทยก็มีพอแล้ว บัตรเครดิตก็มี รูดปื๊ด รูดปื๊ด ก็ใช้ได้แล้ว แต่ทางรัฐบาลเยอรมันเค้าทำ เพื่อป้องกันคนมาอยู่ประเทศเค้าแบบผิดกฎหมาย และเพื่อยืนยันว่าจะมีเงินใช้จ่ายดูแลตนเองได้เพียงพอจนกระทั่งวันเดินทางกลับ ไม่ให้เป็นภาระเค้าค่ะ พูดอย่างเป็นทางการก็คือ “เพื่อแสดงว่านักศึกษามีเงินเพียงพอเป็นค่าใช้จ่ายระหว่างการพำนักและศึกษาในเยอรมนี” 

 

เหมือนแอบโฆษณาธนาคารเบาๆ 55

 

จะเปิดบัญชี Blocked Account ได้อย่างไร?

Blocked Account เรียกเป็นภาษาเยอรมันว่า Sperrkonto มีวิธีการเปิดคือ

  1. กรอกเอกสารที่ได้จาก Deutsche Bank
  2. ปริ้นเอกสารออกมา แล้วนำเอกสารที่กรอกแล้วไปให้สถานทูตเยอรมัน (ต้องนัดล่วงหน้า) ประทับตรายืนยันรับรองเอกสารให้
    • ทั้งนี้ต้องเซนต์เอกสารต่อหน้าเจ้าหน้าที่ที่สถานทูต
    • และอย่าลืมนำสำเนาพาสปอร์ตและพาสปอร์ตไปสถานทูตด้วยนะคะ
  3. ส่งเอกสาร 3 อย่าง (ตามที่โชว์ข้างล่าง) ไปตามที่อยู่ธนาคาร
    • เอกสารขอเปิดบัญชี Blocked Account
    • สำเนาพาสปอร์ต (ใบที่สถานทูตยืนยัน)
    • ใบยืนยันการตอบรับให้เข้ารับการศึกษา
  4. จากนั้นก็ รอ รอ รอ รอ รอ ค่ะ รอจนกว่าธนาคารจะตอบกลับมาว่าเปิดบัญชีให้เรียบร้อยแล้ว
  5. เมื่อธนาคารตอบกลับมาแล้ว ก็ไปโอนเงินเข้าบัญชีได้เลย
    • ให้โอนเงินเกินจำนวนที่กำหนด 50 ยูโร เป็นค่าโอนที่ธนาคารจะหักปลายทาง
  6. เสร็จเรียบร้อย ขอวีซ่าได้ 🙂
  • รายละเอียดเพิ่มเติมการเปิดบัญชี blocked account คลิกที่นี่

 

#Potsdam #neuespalais #palace #germany #university #wanderfulminds #sky #nature

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Apr 26, 2016 at 6:08am PDT

มหาวิทยาลัย Potsdam วิทยาเขต Neues Palais 

But life is unpredictable #Potsdam #palace #germany #wanderfulminds

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Apr 18, 2016 at 7:09am PDT

เป็นกำลังใจให้ค่า 😀 

 

 

Filed Under: Germany, Travelling Tips Tagged With: เบอลิน, เยอรมัน

ซื้อตั๋วไปกลับ แต่ไม่ได้ใช้ตั๋วไป ใช้ตั๋วกลับได้ไหม?!

February 25, 2016 By KaiMook McWilla Malany Leave a Comment

 

ฉันมีตั๋วกลับไทยแล้ว บินไป-กลับ (เบอลิน-กทม) แต่ด้วยเหตุบางประการทำให้ต้องกลับเมืองก่อน และตอนนั้นฉันยังอยู่ฟินแลนด์อยู่ เลยตัดสินใจซื้อตํ๋วกลับไทยเป็นตั๋วเที่ยวเดียวจากฟินแลนด์เลย (เฮลซิงกิ-กทม) ณ ตอนนี้ฉันมีตั๋วสามใบนะคะ คือ

  1. เฮลซิงกิ-กทม
  2. เบอลิน-กทม
  3. กทม-เบอลิน

ตั๋วกลับ (กทม-เฮลซิงกิ) ไม่ได้ซื้อเพราะคิดว่าจะไปใช้ตั๋ว กทม-เบอลิน ที่ซื้อไว้ตั้งแต่คราวแรก เนื่องจากประเทศปลายทางที่ต้องไปหลังจากกลับไทยคือเยอรมันค่ะ ตอนตัดสินใจซื้อตั๋วจากฟินแลนด์ ฉันคิดไม่ตกว่าตั๋วกลับไปเยอรมันจะใช้ได้ไหม

ซื้อตั๋วไปกลับ แต่ไม่ได้ใช้ตั๋วขาไป จะใช้ตั๋วขากลับได้หรือเปล่านะ?

“คงใช้ได้แหละ มันสิทธิ์ของเรา เราจ่ายเงินแล้ว ซื้อแล้ว”

ภาพจาก Transportation Security Training

 

ปรากฎว่า ใช้ไม่ได้นะคะ

ทางสายการบิน ไม่ให้บินกลับค่ะ ด้วยเหตุผลว่า ตั๋วไปไม่ได้ใช้ (ไม่ได้รับการ activation) ฉันไม่ได้โต้แย้งอะไรมาก แต่ก็ได้คุยกับเจ้าหน้าที่ไว้เป็นความรู้ พบว่า นั่นเป็นเพราะ ตั๋วออกด้วยหมายเลขจอง (booking reference/number) เดียวกัน เป็นตั๋วไป-กลับเสมือน A-B หาก A ไม่ได้ใช้ มันจะทำให้ B เกิดขึ้นไม่ได้ เป็นลูกโซ่ สายการบินโดยทั่วไปใช้มาตราการนี้หมด

หากมีเหตุจำเป็นจริงๆ สามารถพูดคุยต่อรองกับเจ้าหน้าที่ได้ แต่นั่นมักเป็นเหตุฉุกเฉินคอขาดบาดได้ ป่วย เข้าโรงพยาบาล หรือ ตกเครื่อง/ต่อเครื่องไม่ทัน หากเป็นความผิดของสายการบิน (ต่อเครื่องไม่ทัน) กรณีนี้โดนส่วนใหญ่ไม่ต้องห่วงค่ะ แต่ถ้าเหตุผลส่วนบุคคลบางทีสมัยนี้เวลาซื้อตั๋วเค้ามักมีให้ซื้อประกันด้วย เผื่อจะได้ไม่เกิดเหตุขัดข้องหากไม่ได้ใช้ตั๋วกระทันหัน

อย่างไรก็ดี ก่อนจองตั๋วใดๆ ควรทำความเข้าใจลักษณะตั๋วให้ดีก่อน เพราะมาตราการแต่ะสายการบินต่างกัน ตั๋วโปรโมชั่น ลดราคามีกฏเกณฑ์ต่างจากตั๋วทั่วไปด้วย และตั๋ว ecoomy, economy pro, business คลาสต่างๆ ก็ต่างกันไปอีก

ไม่งั้นเสียเงินเปล่า อาจต้องทิ้งทั้งตั๋วไปตั๋วกลับ เลยนะคะ 🙁

 

Filed Under: Travelling Tips Tagged With: ตั๋วเครื่องบิน

เตือนภัย! หนาว ดื่มแอลกอฮอล์ ถึงตาย!

January 25, 2016 By KaiMook McWilla Malany Leave a Comment

 

โอละหนอ เมืองไทยอากาศเย็นแล้ว ที่ฟินแลนด์ทางเหนือตอนนี้อุ่นนะคะ จากประมาณ -35 ตอนนี้จู่ๆ ก็ตกลงมาที่ -10 อาจจะยังดูหนาวสำหรับที่ไทย แต่สำหรับคนที่นี่ มันจิบๆ น้ำไม่ล้นตะลิ่งค่ะ #คือไม่เกี่ยว

ขณะที่อุณหภูมิที่ไทยลดลง ฝั่งยุโรปก็สูงขึ้นอย่างกะทันหัน แปรผันกันอย่างน่าตกกะใจจริงๆ อากาศดีแบบนี้อย่ามัวแต่ออกมาข้างนอกสนุกสนานกับบรรยากาศดีๆ จนลืมดูแลสุขภาพ สวมเสื้อผ้าอุ่นๆ จะได้ไม่ป่วย และที่สำคัญ แถ๊แด๊ … อย่าดื่มแอลกอฮอล์เพราะคิดว่าจะทำให้ร่างกายอุ่นนะ มันไม่ได้ทำให้อุ่นค่ะ

 

ย้ำ! ดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้ทำให้อุ่น 

ความอุ่นเป็นผลข้างเคียงที่จะย้อนมาทำร้ายเราเองถึงชีวิต!

 

 

ขอเตือนภัย! กรุณาอย่าดื่มแอลกอฮอล์ช่วงอากาศหนาว

ฟังดูคงขัดแย้งกับความคิดและความเชื่อของหลายคนที่ว่า แอลกอฮล์ทำให้ร่างกายอุ่น … อากาศเย็นสบายมากินเหล้าคลายหนาวกันเถอะว่ะ … เป็นความเชื่อผิดๆ นะ แอลกอฮอล์ทำให้ร่างกายอุ่นจริง แต่นั่นเป็นเพราะกระบวนการทำงานของร่างกายที่ “สูญเสียความร้อน” จาก “เส้นเลือดฝอยที่ขยายตัว” ดื่มมากความร้อนก็ออกจากร่างกายมาก เส้นเลือดฝอยก็ขยายตัวมาก

ก็อุ่นมาก สบายกายมาก นั่นแหละค่ะส่งผลถึงชีวิตเลยล่ะ

ดังนั้นหลีกเลี่ยงดื่มการดื่มเหล้าเพื่อความอุ่นเถอะค่ะ กอดคนข้างๆ กอดเพื่อน กอดลูก กอดภรรยา กอดสามี หรือกอดคนข้างบ้าน อุ่นกายสบายใจ ปลอดภัยหายห่วงด้วย 🙂

ด้วยรักและห่วงใย

สำหรับใครที่มีโรคประจำตัว หอบหืด โรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต ก็ดูแลตัวเองดีๆ นะคะ เตรียมยาให้พร้อม ดูแลตัวเองให้ดีเสมอด้วยค่ะ

 


*ข้อมูลจาก discovery

 

Filed Under: Travelling Tips

10 เคล็ดลับแบกเป้/จัดกระเป๋าเที่ยวง่ายๆ

January 24, 2016 By KaiMook McWilla Malany Leave a Comment

 

อยากเที่ยวนานๆ หลายๆ ที่ แบกของเยอะ ไหนจะเหนื่อย ไหนจะปวดหลัง เห็นชาวต่างขาติแบ็คแพค แบกของหนาเตอะเต็มแผ่นหลัง บางทีก็หิ้วรองเท้า มีเบาะโยคะ มีเต๊นท์ด้วย เค้าทำกันยังไงกัน ไม่หนักเหร๊อะ มันก็น่าสงสัยนะ แต่พอได้เที่ยวแบกเป้บ่อยๆ แล้ว ทักษะการจัดของฉันก็ดีขึ้นมา ของมันจะน้อยลงๆ เรื่อย จะให้เที่ยวนานหลายเดือนหรือเป็นปี ของน้อยแค่ไหนฉันก็เชื่อว่าอยู่ได้

มาดูเคล็ดลับ 10 ข้อง่ายๆ กันเถอะค่ะว่าจัดกระเป๋าทำยังไงดี

ภาพจาก http://SanookTiew.com

1) ของที่เอาไป: เอาให้น้อยที่สุดค่ะ คือของที่ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องเอาไป พวกของ “เผื่อ” ทั้งหลาย แนะนำว่าเอาออกเถอะค่ะ ไม่ได้ใช้หรอก คุณๆ ที่คิดว่า “เสื้อตัวนี้เอาไปดีกว่า เผื่อได้ใช้” “ผ้าพันคอนี้ เอาไปอีกสักผืน เผื่อหนาว” อย่าค่ะ คำว่า “เผื่อ” คือตัวสำรอง เราจะไม่ใช้มันและไม่ค่อยชอบใจนักมันถึงเป็นของ “เผื่อ” ยังไงล่ะคะ

2) ข้างหน้า: อย่าลืมว่าที่ข้างหน้าปลายทางยังมีของขาย ขาดเหลือหาเอาได้ จะไปแหล่งกันดาลแค่ไหนอย่างน้อยประเทศเขาก็คงมีร้านขายของเล็กๆ ให้ได้ควักตังค์ออกมาจากแน่ๆ ค่ะ

3) กระเป๋า: ไม่ต้องใบใหญ่มากนะคะ ตัวเล็กก็เอาไปขนาดพอดีตัว ไม่ใหญ่มาก ใหญ่มากเจ็บหลัง ทางทีดีเวลาซื้อให้ลองสะพายดูก่อน กระเป๋าแบ็คแพ็คจะมีแผ่นรองหลังหนาๆ นุ่มๆ คล้ายๆ ฟองน้ำ มันช่วยไม่ให้ปวดหลังค่ะ กระเป๋าพวกนี้ถูกออกแบบมาให้มีแผ่นรองหลังโดยเฉพาะ แล้วก็มีตัวที่ยื่นๆ ออกมารองรับน้ำหนักตรงสะโพกด้วย ด้วยเหตุนี้ของหนักแค่ไหนตอนสะพายก็ไม่รู้สึกว่ามันหนัก เพราะน้ำหนักมันถ่ายลงมาหมดแล้ว

4) ลำดับการจัดของ: ต้องวางให้มีลำดับมีชั้นเชิงด้วยนะคะ ไม่ใช้ยัดๆ ลงไปหมด ของหนักเบาอะไรเอาลงก่อน? …  ของเบาก่อนนะ วางเบาๆ พวกเสื้อผ้า กางเกง ชุดชั้นในลงก่อน ตามด้วยของหนัก เช่น รองเท้า ที่ชาร์จ เพราะของพวกนี้มันจะช่วยถ่ายน้ำหนักลงไปข้างล่างกระเป๋า ช่วยทับของเบาๆ ให้แบนลงกว่าเก่า จัดแบบนีรับรองประหยัดพื้นที่แน่นอนค่ะ

5) ขวด: พวกแชมพู ยาสระผม โลชั่น และของเหลวต่างๆ แบ่งใส่ขวดไว้ เอาไปพอปริมาณตามจำนวนวันที่ไป ถ้าจะให้เบากว่านี้และประหยัดพื้นที่มากกว่านี้ก็ใช้แบบซองค่ะ พกสะดวกกว่า หมดรายวัน ใช้เสร็จทิ้งเลย แต่ถ้าไม่ห่วงเรื่องต้องใช้ยี่ห้อนั้นยี่ห้อนี้ ให้ไปหาเอาข้างหน้าตามโรงแรม ตามโฮลเทลก็สะดวกเหมือนกันค่ะ ส่วนใหญ่เค้าจะให้มาเกินอยู่แล้ว เก็บซองทีเหลือไว้ใช้อีกยังได้เลย

6) รองเท้าแตะ: ถ้านอนโฮสเทล อย่าลืมรองเท้าแตะด้วยนะคะ เพราะที่พักอาจเป็นห้องน้ำรวม เอาไว้ใส่เดินเข้า-ออกห้องเวลาอาบน้ำ

7) ซักผ้า: ของไม่ต้องเอาไปเยอะ เพราะเราซักผ้าได้ ที่พักสมัยนี้มักมีเครื่องซักผ้าให้ในอาคาร อำนวยความสะดวกให้นักเดินทางอย่างเราๆ ถ้าไม่มี แต่เราอยู่เมืองหนาว ที่เมืองหนาวมีฮีตเตอร์ในห้อง ก็ซักเสื้อผ้าชุดชั้นในในห้องได้ ซักเสร็จก็ห้อยไว้แถวนั้นแหละค่ะ ตากตามฮีตเตอร์ ตื่นมาแห้งพอดี เชื่อสิคะ ฮีตเตอร์นี้มีประโยชน์มากกว่าให้ความอบอุ่นอีกนะ 😛

8) กันฝน:

  1. ถ้ากระเป๋าไม่กันฝน อย่าลืมพกถุงไว้คลุมกระเป๋ากันเสื้อผ้าเปียกด้วยนะคะ ไม่ก็
  2. ตอนจัดของให้จัดเสื้อผ้าเป็นถุงๆ ใส่ถุงพลาสติกบางๆ ก่อนค่อยยัดลงในกระเป๋า ถุงพลาสติกพวกนี้ภายหลังก็เก็บไว้ห่อเสื้อผ้าสกปรกที่ใช้แล้วได้เลย

9. ยา: ร้านขายยาในบางที (โดยเฉพาะยุโรป) ไม่ได้เปิดทำการทุกวัน บ้างหยุดวันอาทิตย์บ้างหยุดวันจันทร์ หยุดไม่เหมือนที่ไทยเสียด้วย เวลาทำการก็ไม่เหมือนกันทุกที่ หากป่วยมากระทันหันไม่มียารักษานะ พกไว้ทั้ง ยาดม ยมอม ยาหม่อง ยาแก้ปวด ยาแก้ไข้ พลาสเตอร์ปิดแผลด้วย 🙂

10. ข้อดีของการเที่ยวแบ็คแพ็คใช้กระเป๋าใบเล็กคือ

  1. เอาขึ้นเครื่องได้ ประหยัดงบค่ะ สมัยนี้สายการบินราคาถูกมีเยอะ กระเป๋าเยอะก็เสียค่าเดินทางเยอะ กระเป๋าน้อยเราก็ประหยัดไปอีก
  2. เดินทางสะดวก ของอยู่บนหลัง สะพายเอา เวลาผู้คนพลุกพล่านเราก็เดินได้ไม่ต้องคอยใครหลบทางให้เราลากกระเป๋า แต่อย่าลืมเดินดูคนด้วยนะคะ นักท่องเที่ยวหลายคนสะพายเป้เดินเพลินลืมดูว่ากระเป๋าเราไปชนใครหรือเปล่า รุกรานคนอื่นแบบนี้ไม่ดีค่ะ
  3. เที่ยวได้หลายที่ขึ้นและย้ายเมืองได้ คือแบกเป้เดินไปไหนมาไหนได้เลย ตอนเช้าเช็คเอาท์ออกจากที่พักก็สามารถแบกของข้ามเมืองไปกับเราได้เลย ไม่ต้องคอยพะวงเดินทางกลับมาเอากระเป๋าที่เดิม

เที่ยวให้สนุกนะคะ 🙂

 

Filed Under: Travelling Tips Tagged With: เดินป่า, ไฮกิ้ง

หนาว (ติดลบ) แต่งตัวยังไง

January 10, 2016 By KaiMook McWilla Malany Leave a Comment

ไม่เคยคิดมาก่อนว่าเกิดมาชาตินี้จะมีโอกาสพูดว่าอากาศแค่ -15 องศาเอง ที่สำคัญคือฉันล่ะรู้สึกว่ามัน “แค่” จริงๆ ด้วย ไม่หนาวอย่างที่คิด

ความจริงอากาศน่ะหนาวมากนะ แค่ 10 องศาขึ้นดอยอินทนนท์ตอนอยู่ที่ไทยก็แต่งตัวกันยังกับหิมะถล่ม นี่ปาไป -15 หรือ -30 องศา (หรือกระทั่ง -40 องศา) แต่งตัวกันยังไง แรกๆ ฉันก็หวั่นนะ ถามเพื่อนๆ ชาวฟินน์แต่ละคนก็บอกว่า “ไม่หนาวหรอก หากแต่งตัวเป็น”

แล้วยังไงล่ะที่ว่าแต่งตัวเป็น

ต้องแต่งเป็นชั้นค่ะ เหมือนหัวหอม ต้องเป็นชั้นที่มีชั้นเชิงหน่อย เพราะมันจะช่วยให้ร่างกายปรับอุณหภูมิกับภายนอกได้ และถอดออกได้เสมอเมื่อรู้สึกร้อน แต่ละชั้นที่เราสวมใส่มีบทบาทของมัน เรียงลำดับตามนี้

  1. THERMAL ชั้นควบคุมความชื้น ใส่แนบนิดติดตัว เป็นเสื้อที่เก็บความร้อนที่ พวกลองจอห์นหรือถุงน่อง อาจจะบางหน่อยหนาหน่อยขึ้นอยู่กับว่าทนอากาศหนาว หรือไปอยู่ที่ๆ อุณหภูมิติดลบมากเท่าใด
  2. WOOL/FLEECE ชั้นเก็บความร้อนป้องกันความเย็น จำพวกเสื้อขนสัตว์ ผ้านุ่ม ใส่สบาย ถ้าเป็นขนสัตว์แท้จะแพงสุดๆ แต่อุ่นสุดๆ เช่นกัน ราคาขึ้นอยู่กับปริมาณขนสัตว์ หากคิดว่าอยู่นาน ต้องไปทำกิจกรรมกลางหิมะบ่อยๆ ซื้อไปเถิดค่ะ รับรองคุ้ม
  3. SHELL/WIND-STOPPER ชั้นนอกสุด เป็นชั้นกันลม จะพองหนาเหมือนตัวหุ่นยางมิชเชลลิน ใส่แล้วตัวใหญ่เหมือนหนานุ่มน่ากอดเหมือนหมี แนะนำให้ใส่สองตัวคือแจ็คเก็ตชนิดที่ทำจาก DOWN  หรือเสื้อขนเป็ด จะแบบหนาหรือบางแล้วแต่ว่าขี้หนาวแค่ไหน (หรือจะใส่แบบบางก่อนตามด้วยหนาก็ไม่ว่ากันค่ะ) แล้วตามด้วย RAIN-STOPPER ใช้กันฝนซึ่งช่วยกันลมให้อีกที แนะนำมากหากชอบเดิน ปั่นจักรยานหรือเล่นกีฬาฤดูหนาว

โดยส่วนตัวฉันใส่เสื้อกล้ามเป็นชั้นแรกก่อนชั้น Thermal ให้อกอุ่นกันปอดบวม เพราะเวลาหนาวมากๆ ขั้น -20 ขึ้นไปจะหายใจลำบาก ความเย็นเข้าปอดแล้วมันแสบเจ็บจี๊ดๆ ดีแท้

ทั้งนี้จะใส่แต่ละชั้นมากน้อยแค่ไหนขึ้นกับเราเลยล่ะค่ะ หลักการของมันคือ ปกปิดผิวหนังให้มากส่วนที่สุด ให้ความเย็นเข้าร่างกายน้อยที่สุด และให้ความร้อนกักเก็บภายในได้นานที่สุด

อย่าลืมถุงมือ ผ้าพันคอ และถุงเท้าด้วยนะ ส่วนรองเท้าเนี่ยอาจจะต้องแบบกันน้ำกันลมบ้างเหมือนกัน ถ้าหิมะตกหนักเท้าเปียกแล้วทรมานค่ะ …

เหม็นด้วย อี๊

Up in the mountain #rigi #Switzerland #nature #mountain #snow #sledding #skiing #sky #winter #wanderfulminds

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Jan 7, 2016 at 2:30am PST

 

Filed Under: Travelling Tips Tagged With: การแต่งกาย

KAIMOOK MALANY

ฉันโตมากับการไม่อยู่เป็นหลักแหล่ง ฉันสู้ ดิ้นรน ปรับตัว เป็นฉันในวันนี้ ที่ยิ้มเก่ง ช่างพูด กล้าถาม ชื่นชอบการพบปะผู้คน รักการเรียนรู้ หลงรักการผจญภัย และอยู่อย่างสันโดษได้ นอกจากจะเพราะครอบครัวที่รักและคอยให้การสนับสนุนฉันแล้ว ส่วนหนึ่งยังเป็นเพราะตัวฉันที่ไม่ชอบอยู่นิ่ง (wander) สิ่งที่ฉันได้เจอ ศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้เป็นความน่าหลงใหล (wonderful) ที่ฉันอยากจะแลกเปลี่ยนแบ่งปัน ทุกอย่างที่เขียนขึ้นกลั่นออกมาจากใจฉันเองค่ะ (minds)

Join the Social Conversation

  • Facebook
  • Instagram
  • Pinterest

Copyright © 2015-2019 · Squiddy Productions · This site powered on interstellar cognitions · Privacy