
ภาพจาก NCTV Food
งานวิจัยหลายงานที่ผ่านมาได้ศึกษาระบบสมอง/ความจำของมนุษย์เพื่อพยายามเข้าใจเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ให้มากขึ้น หนึ่งในงานวิจัย (ของ Ellen Bialystok) ได้ศึกษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์จำนวน 450 คน ที่เป็นผู้รู้สองภาษา (bilingual) พบว่า “ทักษะภาษาที่สองของพวกเขาช่วยชะลออาการความจำเสื่อมได้สูงถึง 4-5 ปีเมื่อเทียบกับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ทั่วไป” จากการวิจัยพบว่าผู้รู้สองภาษามีอาการหลงลืมช้ากว่าผู้รู้ภาษาเดียวเกือบห้าปี!!
นั่นหมายความว่าแม้การรู้ภาษาที่สองไม่ได้ช่วย “ป้องกัน” ความจำเสื่อม แต่หากบุคคลนั้นมีแนวโน้มจะเป็นอัลไซเมอร์แล้ว อาการของโรคจะปรากฏช้าลง หรือความรู้ทางภาษาจะช่วย “ชะลอ” ให้เป็นอัลไซเมอร์ช้าลงนั่นเอง
รู้ภาษาที่สองช่วยชะลอความจำเสื่อม
ทำไม?
กุญแจสำคัญคือกระบวนการเก็บข้อมูลในคลังสมอง การรู้มากกว่าหนึ่งภาษาแสดงให้เห็นว่าสมองของเราต้องทำงานมากกว่าปกติ ทำให้มีความยืดหยุ่นสูง เช่นเดียวกับร่างกายมนุษย์ที่หากออกกำลังกายก็แข็งแรง/มีสุขภาพดี การใช้สมองมากๆ ก็คือการบริหารสมองเช่นกัน เมื่อสมองถูกใช้งานมากๆ เส้นประสาทก็มีการเชื่อมต่อกันมากขึ้น (neural connections) เมื่อเส้นประสาทเชื่อมต่อกันมากขึ้นเข้าก็ยากต่อการเสื่อมตัว (เพราะความจำเสื่อมเกิดจากเซลล์ประสาทเสื่อมตัว เลยทำให้อาการความจำเสื่อมเกิดขึ้นช้าลง)
ข่าวดี?
งานวิจัยอื่นๆ ยังพบว่าการรู้ภาษา ณ ที่นี้ ไม่จำเป็นต้องรู้ตั้งแต่เกิด แต่รู้ภาษาที่สองตอนโตก็ได้ เพราะว่าสมองของเรามีกลไกการทำงานที่เหมือนกัน
รู้แบบนี้แล้ว มีแรงเรียนภาษาเพิ่มขึ้นหรือยังคะ 🙂
คลิกที่นี่สำหรับบทความอื่นๆ เกี่ยวกับ สมอง ภาษา และความคิด
ภาษาวันละนิด Mitä kuuluu? (มิ ตา กู้ หลู่) ภาษาฟินแลนด์ แปลว่า สบายดีไหม 😀
Leave a Reply