wanderfulminds

When you wonder, your mind wanders, and you realize how wonderful everything is

  • Home
  • Stories & Guides
  • Facts & Tips
  • Brains & Minds
  • Languages
  • Education
  • Hire me!
  • Contact
You are here: Home / Travelling Tips / โรคจากการขึ้นที่สูง

โรคจากการขึ้นที่สูง

June 22, 2016 By KaiMook McWilla Malany Leave a Comment

Mountain sickness

 

#pulpitrock #stavanger #norway #hike #nature #lake #sky #wanderfulminds

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on Jun 12, 2016 at 10:52pm PDT

 

ฉันเพิ่งอ่านข่าวทันตแพทย์หญิงไทยพิชิตยอดเขาเอเวอเรสไปหมาดๆ ยังทึ่งในความแข็งแกร่ง และชื่นชมความกล้าหาญของเธอได้ไม่นานนัก ก็ได้ข่าวครูสาวชาวออสเตรเลียเสียชีวิตระหว่างเดินทางไปพิชิตยอดเขาลูกเดียวกัน (Another death on Mt Everest, Australian lecturer dies near Camp IV, The Himalayan Times)

เป็นเรื่องน่าเศร้าใจไม่น้อย พลันให้คิดว่า สุขภาพร่างกายแม้จะสำคัญแค่ไหน ร่างกายจะแข็งแรงเพียงใด ต่อให้ไม่ประมาท แต่ธรรมชาติที่แม้จะสวยงามก็ยังมีพิษภัยที่มนุษย์อย่างเราบางทีอาจควบคุมไม่ได้อยู่ดี

อาจารย์มาเรีย อาลิซาเบธ สตรีดอม (Dr. Maria Elizabeth Strydom) จบชีวิตลงด้วย “โรคจากการขึ้นที่สูง” (Altitude sickness/illness หรือ Mountain sickness) เป็นอาการที่เกิดจาก การขึ้นไปอยู่ในพื้นที่ที่มีความมีสูงตั้งแต่ประมาณ 2,100เมตร (7,000 ฟุต) จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เช่น ตามบริเวณยอดเขา ภูเขา

พอไปอยู่บนที่สูงมาก จะเกิดอาการ Acute Mountain Sickness (AMS) เกิดจากการที่ร่างกายปรับตัวไม่ทันในสภาวะที่มีออกซิเจนน้อย ทำให้ปวดหัว มึนศีรษะ เหนื่อย หอบ หายใจเร็ว

  • อาการ
  • ปวดหัว
  • เหนื่อย
  • มึนศีรษะ
  • หน้ามืด
  • ไม่อยากอาหาร
  • นอนไม่หลับ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • อาการคล้ายคนเมา/เมาค้าง

โดยทั่วไปแล้วร่างกายอาจปรับตัวได้ ภายในระยะเวลา 1-2 วัน แต่หากเป็นต่อเนื่อง และยังฟืนเดินทางต่อไป (ปีนเขาขึ้นไปที่สูงต่อไปอีก) อาการอาจรุนแรงมากขึ้นถึงขั้นเสียชีวิต อย่างไรก็ดี แม้จะหยุดเดินทางแต่ร่างกายบางคนก็สู้ไม่ได้ ทำให้อาการไม่ดีขึ้น

ปัจจัยเสี่ยง
ข้อควรพึงระวังคือ เราไม่อาจรู้ล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดอาการเหล่านี้หรือไม่ เมื่อเดินทางขึ้นที่สูง จากข้อมูลพบว่า “แม้จะสุขภาพดีแค่ไหน ร่างกายที่แข็งแรงก็ไม่ได้ช่วยลดอัตราการป่วยเป็นโรคจากที่สูงเลย” เท่าที่ทราบคือ บุคคลที่มีอัตราเสี่ยงมากกว่าบุคคลทั่วไป คือ บุคลลที่

  • มีปัญหาสุขภาพปอด
  • มีปัญหาเรื่องการหายใจ (หอบ หืด)
  • มีประวัติสุขภาพเคยเป็นโรคจากการข้ึนที่สูงมาก่อน
  • ดื่มแอลกอฮลอ์ก่อนปีนป่าย/ขึ้นที่สูง
  • ปีนป่าย/ขึ้นที่สูงอย่างรวดรเร็วภายใน 1 วัน: เดินทางขึ้นที่สูง 9,000 แมตร ต่อ วัน
  • ไม่ได้อยู่ที่สูงมาก่อน

How can you not fall in love with nature? #hike #adventure #naturelovers #wanderfulminds #ocean

A photo posted by Kaimook Malany (@wanderful_minds) on May 14, 2016 at 4:28am PDT

 

วิธีป้องกัน

  • หากมีอาการ ให้พัก หยุดเดินทาง และทานยานอนหลับ
  • ห้ามดื่มแอลกอฮล์
  • หลังจากมีอาการ หากภายใน 24-48 ชั่วโมง อาการยังไม่ดีขึ้น ควรหยุดเดินทาง และกลับลงสู่ที่ต่ำ

 

นี่เป็นเพียงหนึ่งในอาการขึ้นแรกและโรคจากการขึ้นที่สูง ยังมี น้ำท่วมปอด หรือ ภาวะปอดบวมน้ำจากที่สูง High altitude pulmonary edema (HAPE) ที่อันตรายรุนแรงถึงชีวิตเช่นกัน

ป้องกัน และดูแลตัวเองดีๆ นะคะ

 

 


*ข้อมูลแปลและดัดแปลงจาก “Patient information: High altitude illness (including mountain sickness) (Beyond the Basics), Gallagher S et al, 2016”

 

Filed Under: Travelling Tips Tagged With: ไฮกิ้ง

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

KAIMOOK MALANY

ฉันโตมากับการไม่อยู่เป็นหลักแหล่ง ฉันสู้ ดิ้นรน ปรับตัว เป็นฉันในวันนี้ ที่ยิ้มเก่ง ช่างพูด กล้าถาม ชื่นชอบการพบปะผู้คน รักการเรียนรู้ หลงรักการผจญภัย และอยู่อย่างสันโดษได้ นอกจากจะเพราะครอบครัวที่รักและคอยให้การสนับสนุนฉันแล้ว ส่วนหนึ่งยังเป็นเพราะตัวฉันที่ไม่ชอบอยู่นิ่ง (wander) สิ่งที่ฉันได้เจอ ศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้เป็นความน่าหลงใหล (wonderful) ที่ฉันอยากจะแลกเปลี่ยนแบ่งปัน ทุกอย่างที่เขียนขึ้นกลั่นออกมาจากใจฉันเองค่ะ (minds)

Join the Social Conversation

  • Facebook
  • Instagram
  • Pinterest

Copyright © 2015-2019 · Squiddy Productions · This site powered on interstellar cognitions · Privacy