
(ภาพโดย Chudomir Tsankov)
เป็นที่รู้กันดี ว่า เรียนภาษาตอนเด็ก ง่าย กว่าเรียนตอนโต ในทางจิตวิทยาอาจเป็นเพราะ เราไม่ต้องคิดอะไรมาก เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ โดยเฉพาะหากใครเป็นรู้สองภาษา (bilingual) มาตั้งแต่เกิดแล้ว อะไรๆ ก็ง่ายไปหมด เหมือนการใช้ภาษามันมาโดยธรรมชาติยังไงยังงั้น
แต่คำถามที่เกิดขึ้น คือ
แล้วถ้าเรียนภาษาตอนโตล่ะ
ทำไมยากจัง
เกิดอะไรขึ้นกับสมองกันแน่นะ
คำตอบคือ ก็เพราะพัฒนาการสมองของเด็กกับผู้ใหญ่ ต่าง กัน น่ะสิคะ
งานวิจัยหนึ่งของประเทศสวีเดน ศึกษาเกี่ยวกับ การเจริญเติบโต หรือ ขนาดของสมองของผู้ใหญ่ ที่เรียนภาษาใหม่ที่พวกเขาไม่เคยรู้มาก่อนเลยในชีวิต เทียบกับ กลุ่มการทดลอง สอง กลุ่ม คือ
- กลุ่มทหารที่ต้องเป็นล่าม/นักแปล กับ
- กลุ่มนักเรียนแพทย์
ทั้งสองกลุ่มเรียนหนักเหมือนกัน แต่ หนักกันไปคนละด้าน นักเรียนล่ามทหาร หนักไปทางการฝึกร่างกาย กับการเรียนภาษา พวกเขาต้องเรียนภาษานั้นๆ ให้คล่องแคล่ว ทั้งที่ไม่เคยเรียนมาก่อนในชีวิต เรียนให้ได้ภายใน 10 เดือน โดยต้องเริ่มเรียนภาษาจากการเริ่มนับหนึ่งใหม่ (หรือ ไม่มีพื้นความรู้ภาษานั้นๆ มาก่อนเลย)
ลองคิดดูซิคะ ว่ายากแค่ไหน เรียนภาษาในห้องเรียน ในประเทศตัวเอง ไม่ได้มีโอกาสไปใช้ชีวิตในประเทศที่พูดภาษานั้นๆ เลย เพียงไม่ถึงหนึงปี ก็ต้องรู้ทุกอย่าง ต้องเขียนได้ และพูดคล่องให้เหมือนเจ้าของภาษา
ขณะที่ อีกกลุ่มของนักเรียนแพทย์ ก็เรียนหนักเหมือนกัน แต่ หนักไปด้านอื่น คือ ทางวิชาการ กายภาพ ร่างกาย โรคและการวินิจฉัยต่างๆ
ผลจากภาพสแกนสมอง ที่สแกน ก่อน และ หลัง การทดลองพบว่า ขนาดสมองของนักเรียนทหารที่เรียนภาษาใหญ่ขึ้น อย่างเห็นได้ชัด ขณะที่ สมองของอีกกลุ่ม (นักศึกษาแพทย์) มีขนาดเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
สมองส่วนที่ใหญ่กว่าเก่า ของนักเรียนทหารมี 2 ส่วนด้วยกัน คือ ฮิปโปแคมปัส กับ คอเท็กซ์ (เปลือกสมอง)
- ฮิปโปแคมปัสเนี่ย มีความสัมพันธ์ กับภาษาด้านความจำ เป็นความจำระยะสั้น ความจำระยะยาว ในหัวของเรา
- ส่วนคอร์เท็กซ์ เกี่ยวพันธ์กับการใช้ภาษา ด้านเสียง การออกเสียง การรับรู้เสียง หรือเสียงสะท้อนของเสียง ส่วนที่เห็นได้ชัดเลย แยกย่อยออกมาได้ตามภาพที่ปรากฎ คือ

Mårtensson et al
- รอยนูนกลีบหน้าผากส่วนหน้าตรงกลาง (Middle Frontal Gyrus)
- รอยนูนกลีบหน้าผากส่วนหน้าด้านล่าง (Inferior Frontal Gyrus)
- รอยนูนกลีบหน้าผากส่วนข้างด้านบน (Superior Temporal Gyrus)
(ฉันไม่แน่ใจเหมือนกันนะคะว่าภาษาไทยเรียกแบบนี้รึป่าว อันนี้ต้องขออภัยจริงๆ หากผู้รู้ท่านใดทราบช่วยชี้แนะด้วย)
การทดลองนี้ชี้ให้เห็น เรื่องมหัศจรรย์ของสมองเรา หลายอย่างมาก ขอชี้แจงเพียงเล็กน้อยเท่านั้นนะคะ ไม่ขอไม่ลงลึกมาก เช่น
- สมองเราเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะโต (หรือแก่) แค่ไหนก็ยังมีพัฒนาการและมีความยืดหยุ่นอยู่
- ภาษามีอิทธิพลและช่วยชะลอการเสื่อมของสมองได้แน่นอน ไม่ว่าจะอัลไซเมอร์หรือสมองเสื่อม เห็นได้จากการทดลองนี้ที่เทียบการเรียนภาษากับการเรียนด้านอื่นๆ
ดังนั้น มาเรียนภาษาวันละนิด ท่องศัพท์วันละคำ ป้องกันภาวะหลงลืมกันดีกว่าค่ะ 😀
คลิกที่นี่สำหรับบทความอื่นๆ เกี่ยวกับ สมอง ภาษา และความคิด
อ่านละมีกำลังใจเรียนภาษาต่อไปปป
55555 ยังไม่เม้นเรื่องสำนวนน้า วันนี้มีแนววิชาการ เขียนแบบนี้เข้าใจแล้ว:))
เย่ะ สู้ๆ นะ เรียนภาษาใช้เวลาเสมอ ยิ่งเรียนตอนโตยิ่งยากไปใหญ่ แต่ถ้าได้แล้ว ภาษาต่อๆ ไปก็จะง่ายเองเนาะ แล้วเดี๋ยวบทความต่อๆ ไปไข่มุกจะเขียนเรื่องเกี่ยวกับ “คำศัพท์” นะ ว่าทำไมมันจำยากจำเย็น ท่องยังไงก็ลืม 5555