ไม่รู้จะอ่าน และวิเคราะห์วรรณกรรม ไปทำไม?! ตอนเขียน ผู้เขียนหลายคน คงไม่ได้คิดอะไรลึกซึ้งขนาดนั้น เช่น หากในเนื้อเรื่องที่อ่าน มีบทหนึ่ง ที่ตอนนั้นตัวละครหลักกำลังอยากอยู่ในห้องเงียบๆ คนเดียว และห้องของตัวละครหลักมีผ้าม่านสีฟ้า (blue) ผู้อ่านอย่างเราก็คิดไปไกล คิดเองเออเอง ว่า “blue” หรือสีฟ้า ที่มีความหมาย ในภาษาอังกฤษ ในเชิงความเศร้า เหงา ว่าตัวละครเอกนั้นกำลัง เหว่ว้า เหมือนในประโยคที่ว่า “I’m blue.” หรือ “ฉันเศร้า” เป็นการเชื่อมโยงความเปนตัวของตัวเองของตัวละครกับสิ่งรอบข้าง

ภาพจาก iDoi* Marter’
บางครั้ง ตัวละครสามีภรรยา หรือคู่รักทั่วไปทะเลาะกัน คนเรียนอย่างเราก็มาคิดให้ปวดกระบาลว่า
- คิดว่าอะไรทำให้เกิดเหตุการณ์แบบนั้น
- ทำไมพวกเขาจึงทะเลาะกัน
- จุดของความขัดแย้งคืออะไร
หลายครั้งลามไปถึงคำถามว่า
- ใครถูก-ใครผิด
คำถามสุดท้าย ดูเหมือนอาจโยนความผิดพลาดให้กับอีกฝ่าย แต่การหาความถูก-ผิด ไม่ใช่เพีย งคิดมโนเอาเอง แต่ต้องมีหลักฐานจากตัวบทมายืนยันเสมอ “ฉันว่าผู้ชายถูก” “เพื่อนร่วมห้องว่าผู้หญิงถูก” แล้วเราก็มาถกกันด้วย เหตุผล และหลักฐาน จากการกระทำ และคำพูดของตัวละคร โดยมีอาจารย์และเพื่อนในห้องคอยนำทาง และเปิดทางให้เรา “เห็นและเข้าใจความเห็นของฝ่ายตรงข้าม”
เมื่อนั้นเอง แม้เราจะยึดมั่นในคำตอบของเรา หรืออาจจะเปลี่ยนความเห็นไปแล้ว สิ่งที่ได้รับคือความคิดเห็นของอีกฝ่าย เข้าใจว่าอีกฝ่ายคิดอย่างไร ความแตกต่างคือจุดยืนของทั้งคู่ ที่มีจุดยืนต่างกัน มีเหตุผลต่างกัน เป็นการเรียนรู้ทางอ้อมที่เราค่อยๆ ซึมซับ
ต่างคนต่างมีเหตุผลและมีหลักฐาน (จากตัวบท) มายืนยัน
ความเห็นส่วนตั วที่นอกเหนือจากบทความจะไม่ได้นำมาพูดถึง เพราะมันคือ “นอกเรื่อง นอกประเด็น”
นี่แหละ คือความเข้าใจมนุษย์ ของการเป็นอักษรศาสตร์ มันคือความเป็นสีเทา โลกนี้ไม่ได้มีเพียงแค่สีขาว-ดำ หรือสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง ความเป็นกลางยังมีเสมอ
ใครที่สงสัยว่า เรียนสายมนุษย์-สายสังคมให้ได้อะไร? เข้าใจมนุษย์ไปเพื่ออะไร? เห็นตัวอย่างเล็กๆ ข้างบนนี้แล้วลองคิดวิเคราะห์สักนิดนะคะว่า นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ที่นิสิตคณะนี้เรียนกัน มันคือวิชาเดียวเท่านั้น เป็นเพียงเศษเสี้ยวของเนื้อหาที่เรียน เราฝึกปรือกันแบบนี้ตลอดระยะเวลา 4 ปี ในบริบทสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ปรัชญา ประวัติศาสตร์ จริยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ มันเป็นการฝึกฝนทางอ้อมที่ตอนเรียนแทบทุกคนก็บ่นไปว่า “จะให้คิดไปทำไมเนี่ย”
ในภาษาอังกฤษ มีสำนวนหนึ่งใช้ว่า “to put yourself in somebody else’s shoes” คือการเอาตัวเราไปแทนผู้อื่น วางตัวเราเองในสภาพคนอื่น หากคนนั้น กำลังเศร้าใจ เราก็ลองคิดว่าหากเราเป็นเค้า เราจะเป็นอย่างไร เราจะอยากถูกปฏิบัติอย่างไร เพื่อที่จะได้รู้ว่าเราไม่ควรทำอย่างนั้นกับเขาหรือเปล่า
ยกตัวอย่างเช่น หากกำลังนอกใจคนรัก คือมีชู้ เราลองคิดสักนิดว่า ถ้าคู่รักของเราไปมีชู้บ้าง เราจะรู้สึกอย่างไร เราจะชอบใจไหม หรือหากคุยโทรศัพท์กับใครอยู่แล้าเราไม่พอใจไปกดตัดสายเค้า มันดีหรือไม่ เราอยากให้ใครมากดตัดสายเราหรือไม่ การเมืองเศรษฐกิจก็เช่นกัน เอาเงินคนอื่นมาไม่คืน หรือคดโกงคนอื่น แล้วถ้ามีคนอื่นมาทำกับเราบ้างล่ะจะพอใจไหม?
“อย่าทำในสิ่งที่เราไม่อยากโดนกระทำต่อ”
- อ่าน บทความ ประสบการณ์นิสิต คณะอักษรศาสตร์ คลิกที่นี่
- อ่าน บทความอื่นๆ ในหมวดหมู่การศึกษา คลิกที่นี่
Hmnmn. Thinking about it all