wanderfulminds

When you wonder, your mind wanders, and you realize how wonderful everything is

  • Home
  • Stories & Guides
  • Facts & Tips
  • Brains & Minds
  • Languages
  • Education
  • Hire me!
  • Contact
You are here: Home / Brains & Minds / สมอง ภาษา ที่มาที่ไป

สมอง ภาษา ที่มาที่ไป

October 26, 2015 By KaiMook McWilla Malany 2 Comments

เกริ่นนำ

 

ภาพนี้สำคัญมากนะคะ ในหลายบทความที่ฉันเขียนส่วนต่างๆ ของสมองจะโยงกลับมาที่นี่ (ภาพโดย Lou Carlozo)

 

ก่อนจะไปเริ่มอ่าน เรื่องลี้ลับของ สมองกับภาษา และความคิดมนุษย์ ขอบอกนิดนึงนะคะ ว่าเนื้อหาที่เขียนส่วนใหญ่ในนี้มีการอ้างอิงมาจาก หนังสือ และบทความทางวิชาการ ที่ล้วนแต่มีเนื้อหา ที่เป็นวิชาการเอามากๆๆๆ เลยล่ะค่ะ

แต่ฉันพยายามเขียน ให้เป็นวิชาการน้อยที่สุด และสอดแทรกความรู้ ที่สำคัญ และตรงประเด็นมากที่สุด คำศัพท์วิชาการอาจมีแทรกบ้าง เพราะฉันเชื่อว่ามันเป็น พื้นฐานที่จำเป็นจริงๆ ต่อความเข้าใจภาพรวม ของบทความนั้นๆ และจะเป็นประโยชน์ต่อหัวข้ออื่นๆ ถัดไป ที่ฉันจะเขียน เพราะแทบทุกบทความ ที่ฉันได้ร่างลงในเว็บนี้ มีความเชื่อมโยงกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง 🙂

 

(ภาพโดย Chudomir Tsankov)

 

แม้การค้นพบเรื่องราวน่าทึ่ง ของสมองเกิดขึ้นมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา  แต่สมอง ยังเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ลี้ลับอยู่มาก นักวิทยาศาสตร์ นักจิตวิทยา นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง และแพทย์ยังคงต้องค้นคว้าและเรียนรู้เรื่องนี้กันต่อไป

ฉัน ก็เป็นหนึ่งในนั้น ที่ยังต้อง ศึกษา ค้นคว้า และ คอยหาความรู้เพิ่มเติม อีกมากมาย ตลอดเวลา

สำหรับผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย เนื้อหาบางอย่างที่ฉันเขียน อาจดูไม่ครอบคลุมหรือครบถ้วนนัก นั่นเป็นเพราะ

  • เป้าหมายของบทความทั้งหมดที่เขียนขึ้นมาคือต้องการให้ผู้อ่านทั่วไปเข้าใจภาพรวมของระบบการทำงานของสมอง
  • โดยหวังว่า จะเป็น แรงกระตุ้นให้ผู้อ่านทุกท่านได้มีความรู้เพิ่มเติม
  • และ มี แรงจูงใจ ที่จะศึกษา หาความรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับ อวัยวะสุดแสนจะวิเศษนี้ของมนุษย์
  • ในขณะเดียวกัน ในยุคแห่งโลกที่ไร้ขอบเขตนี้ ฉันมีความประสงค์ อยาก ผลักดัน ให้ทุกคน หันมาตั้งใจเรียนภาษา ไม่รู้สึกย่อท้อต่อความลำบาก จากการเรียนภาษา ไม่ว่าจะเป็นการฟัง พูด อ่าน เขียน ท่องศัพท์ หรือการเรียนไวยากรณ์ จนท้อแท้ และหมดกำลังใจไป

เพราะฉันเชื่อว่าหากเราเข้าใจระบบที่มาที่ไปของกลไกสมอง เราจะรู้ว่า แท้จริงแล้ว

  • การเรียนภาษา และการฟื้นฟูทักษะทางภาษา แท้จริงแล้ว ไม่ยากเลย
  • การบำรุงรักษาสมอง ใ้ห้มีความยืดหยุ่น ต่อการเรียนรู้ ย่อมเป็นไปได้เสมอ และ
  • การป้องกัน การเกิดโรคทางสมอง ที่มีผล ต่อ ภาษา หรือ การรักษาเยียวยา โรคเหล่านั้น ย่อมมีหนทาง

การประยุกต์ข้อมูลให้เข้ากับชีวิตประจำวัน และ การหาความสัมพันธ์ของศาสตร์ด้านสมอง (ระบบปริชาน) กับเรื่องของภาษาหลายส่วนเกิดจาก รวบรวม เชื่อมโยง คิด วิเคราะห์ และตีความ จากข้อมูลที่ฉันมีและได้ศึกษาเอง นะคะ

หากมีข้อสงสัยหรือสนใจรู้เรื่องใดเพิ่มเติม ติดต่อมาได้เสมอที่ช่องคอมเมนต์ข้างล่างท้ายบทความได้เลย

ท้ายที่สุด …

ฉันมีอะไรมากมายล้นหัวที่อยากจะแบ่งปัน หวังว่าที่เขียนกลั่นออกมาทั้งหมด จะเข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ ไม่มากก็น้อยต่อผู้อ่าน ทุกท่าน ทุกวัย ค่ะ บางบทความอาจอ่านดูงงๆ บ้าง แต่จะคอยกลับมาแก้ไข เพิ่มเติม ข้อมูล ให้เสมอนะคะ

 

หวังว่าจะสนุกไปด้วยกันค่ะ 😀

ไข่มุก (ผู้เขียน)

 

คลิกที่นี่ สำหรับบทความอื่นๆ เกี่ยวกับ สมอง ภาษา และความคิด

 


 

** ภาพทั้งหมด บางส่วน มาจากกูเกิล บางส่วน มาจากหนังสือ และ บทความงานวิจัย ที่มีการเขียนอ้างอิงประกอบใต้ภาพ และ บางส่วน คือภาพที่ฉันทำ และถ่ายขึ้นมาเอง ภาพและข้อมูลทั้งหมดเป็น ลิขสิทธิ์ ของเจ้าของเว็บไซต์ https://wanderfulminds.com หากพบว่า มีการละเมิดฝ่าฝืน หรือ นำไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาติ จะดำเนินคดีตามกฎหมาย อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ลิขสิทธิ์และคำสงวนสิทธิ์ หรือคลิกที่ privacy 

 

Filed Under: Brains & Minds Tagged With: กลไกสมอง

Comments

  1. Tta says

    June 25, 2016 at 9:16 am

    ข้อมูลน่าสนใจมาก ๆ เลยค่ะ อ่านเข้าใจง่ายด้วย ขอสอบถามได้มั้ยคะ พอดีจบตรีสายวิทย์ฯสุขภาพมา แล้วมาเจอข้อมูลสาขาที่เจ้าของเพจเรียนค่ะ สนใจอยากเรียนสาขานี้บ้าง ไม่ทราบหาข้อมูลได้จากที่ไหนบ้างคะ หาหลักสูตรที่เกี่ยวกับด้านนี้มาซักพักแล้ว ดีใจมากเลยที่เจอ

    Reply
    • KaiMook McWilla Malany says

      June 25, 2016 at 12:21 pm

      สวัสดีค่ะ 🙂 cognitive science เลยค่า neuroscience ด้วย

      Reply

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

KAIMOOK MALANY

ฉันโตมากับการไม่อยู่เป็นหลักแหล่ง ฉันสู้ ดิ้นรน ปรับตัว เป็นฉันในวันนี้ ที่ยิ้มเก่ง ช่างพูด กล้าถาม ชื่นชอบการพบปะผู้คน รักการเรียนรู้ หลงรักการผจญภัย และอยู่อย่างสันโดษได้ นอกจากจะเพราะครอบครัวที่รักและคอยให้การสนับสนุนฉันแล้ว ส่วนหนึ่งยังเป็นเพราะตัวฉันที่ไม่ชอบอยู่นิ่ง (wander) สิ่งที่ฉันได้เจอ ศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้เป็นความน่าหลงใหล (wonderful) ที่ฉันอยากจะแลกเปลี่ยนแบ่งปัน ทุกอย่างที่เขียนขึ้นกลั่นออกมาจากใจฉันเองค่ะ (minds)

Join the Social Conversation

  • Facebook
  • Instagram
  • Pinterest

Copyright © 2015-2019 · Squiddy Productions · This site powered on interstellar cognitions · Privacy