การเรียนรู้ เปลี่ยนแปลงสภาพสมองได้อย่างไร?

The Fix: Neural Plasticity Highlighted By Brain’s Response to Addiction
ความยืดหยุ่นของสมอง (brain plasticity หรือ neuroplasticity)
ความยืดหยุ่นของสมอง ในภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า brain plasticity คำว่า plastic “พลาสติก” นี้ ไม่ได้หมายความว่าสมอง คือพลาสติก นะคะ แต่ คำว่า “พลาสติก” ณ ที่นี้ หมายถึง สภาวะยืดหยุ่น / สภาวะที่เปลี่ยนแปลงรูปร่างได้
ที่เค้าใช้ศัพท์กันแบบนี้ เพราะว่า สมองเราเปลี่ยนแปลงได้ ค่ะ
สมองของเรา มีความสามารถพิเศษ คือ มันสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามทักษะที่เรามี และ/หรือ ประสบการณ์ที่เรารับรู้ นั่นเป็นเพราะ สมอง ประกอบด้วยเซลล์ประสาท (neurons) หลายๆ เซลล์เชื่อมกัน (connections) เมื่อเราใช้งานสมองมากขึ้น เซลล์เหล่านี้ก็เชื่อมกันมากขึ้น หากไม่ได้ใช้สมอง หรือ สมองได้รับการใช้งานน้อยลง เซลล์สมองก็จะค่อยคลายตัว แยกออกห่างจากกันในที่สุด
สมัยก่อน ในช่วงปี 1960s (ประมาณ พ.ศ. 2500) นักวิจัยเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงในสมองเกิดขึ้นได้ เฉพาะ ในทารกและวัยเด็ก ครั้นเด็กเหล่านี้โตขึ้น โครงสร้างสมองก็จะค่อยๆ คงที่ จนเปลี่ยนแปลง ไม่ได้อีกต่อไป … ความเชื่อนี้ เป็นความเชื่อที่สอดคล้องกับอวัยวะอื่นๆ ทั่วไปในร่างกายของเรา นำมาสู่ความคิดที่ว่า “ยิ่งโต ยิ่งเสื่อม”
แต่!!! งานวิจัยระยะหลัง กลับพบว่า “ยิ่งใช้งานสมองมากเท่าไร ความยืดหยุ่นก็มีมากเท่านั้น” ดังคำภาษาอังกฤษว่า “Use it, or Lost it” เพราะสมองเรามีความยืดหยุ่น หรือมี “พลาสติก” นั่นไงล่ะคะ
ปัจจัยทางพันธุกรรม มีอิทธิพลต่อสมองเราอย่างแน่นอน แต่นอกจาก พันธุกรรม หรือ ยีนส์ และบริเวณแวดล้อมที่เราอยู่ ประสบการณ์ที่เราใช้หรือพบเจอ ล้วนมีผลต่อโครงสร้างสมอง และความยืดหยุ่นของสมอง

Neuroplasticity: Functional and Structural
ความยืดหยุ่น/การเปลี่ยนแปลงของสมอง (neuroplasticity) นอกจากจะช่วยให้สมองส่วนที่ได้รับบาดเจ็บปรับตัวและเปลี่ยนแปลงแล้ว ยังช่วยให้สมองเกิดความยืดหยุ่น เชื่อมต่อประสานเซลล์ด้วย
การเปลี่ยนแปลงในสมองพบได้ในวัยต่างๆ 3 วัย ดังนี้
- ในวัยแรกเกิด/วัยเด็ก: เป็นช่วงที่สมองมีการพัฒนาการ เปลี่ยนแปลงเองตามวัยและธรรมชาติ
- ในสมองที่ได้รับบาดเจ็บ: เซลล์ประสาทจะทำหน้าที่เชื่อมโยงเข้าหากัน ชดเชยสมองส่วนที่ขาดหาย และช่วยพยุงให้สมองทำหน้าที่ให้ได้ดีปกติ (ขอเสริมว่ายิ่งเด็ก สมองที่ได้รับบาดเจ็บยิ่งรักษาได้ง่ายขึ้น)
- ในวัยผู้ใหญ่: เปลี่ยนแปลงไปตามประสบการณ์และการเรียนรู้ หมายความว่าทักษะต่างๆ ในชีวิตช่วยเสริมให้เซลล์ประสาทเชื่อมโยงเข้าหากัน ไม่ว่าจะเรียนภาษา เรียนเต้น เรียนดนตรี หรือเรียนทำอาหาร อ่านหนังสือ เป็นต้น
หลายคนไม่ทราบว่า สมองที่ได้รับบาดเจ็บ สามารถฟื้นตัวกลับมาได้ ด้วยความสามารถด้านการยืดหยุ่น และการปรับตัวของสมอง ผู้ป่วยเด็กจำนวนหนึ่งบางคน ได้ผ่านการผ่าตัดสมองซีกหนึ่งออก แม้สมองซีกซ้ายจะหายไป และหลายคนคาดว่า คงจะใช้ชีวิตอย่างปกติไม่ได้ ผลลัพธ์กลับพบว่า สมองที่ยังมีอยู่ (สมองซีกขวา) ช่วยประสานให้สมองซีกที่หายไป (สมองซีกซ้าย) เชื่อมต่อกันได้ แม้ปริมาณสมองจะไม่เท่าเดิม แต่ความสามารถก็ยังไม่แย่หรือใช้การไม่ได้ไปเลยทีเดียว
กล่าวสรุป คือ เมื่อสมองถูกทำลาย สมองส่วนที่ดีจะช่วยชดเชยสมองส่วนที่ขาดหายโดยการเชื่อมต่อ (connect) และประสานให้กลับมาใหม่ (reconnect) ระหว่างเซลล์
สมองที่ดีอยู่แล้ว เมื่อมีการเรียนรู้และได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ เซลล์สามารถยึดเชื่อมกันเสมอ
งานวิจัยสมองของคนขับแท็กซี่ในลอนดอน (Maguire, Woollett, & Spiers, 2006) พบว่า สมองคนขับแท็กซี่มีสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ด้านหลังที่ใหญ่กว่าปกติ เพราะสมองส่วนนี้ทำหน้าที่เกี่ยวกับข้อมูลเชิงสถานที่ (เช่น ทิศทาง แผนที่) เพราะคนขับแท็กซี่ต้องจดจำทิศทา งและรู้สถานที่ต่างๆ ทำให้สมองส่วนนี้ได้รับการกระตุ้นมากกว่าปกติ

Hippocampus: The Brain Made Simple
ความยืดหยุ่น และการเปลี่ยนแปลงของสมอง ยังสามารถพบได้ในสมองของผู้รู้สองภาษา (Mechelli et al., 2004) โดยเฉพาะ สมองส่วนคอเท็กซ์กลีบข้างด้านซ้าย (left inferior parietal cortex) ด้วยนะคะ
อ่านเพิ่มเติม เรื่องสมองกับภาษา กับบทความ
- “รู้หลายภาษา กับ สมอง ที่ต่างกัน” คลิกที่นี่
- “เกิดอะไรขึ้นกับสมอง เมื่อเราเรียนภาษา ตอนโต” คลิกที่นี่
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่
เริ่มคิดว่า ถ้าทำงานที่ใช้สมองมากๆ ชีวิตอาจดีในระยะยาว 5555
ถึงมันจะปวดสมองไปหน่อย แต่ไม่น่าแย่มากมั้ง :3
สมองอาจจะดี แต่คุณภาพจิตเสื่อมก็ได้นะคะแบบนั้น 5555