wanderfulminds

When you wonder, your mind wanders, and you realize how wonderful everything is

  • Home
  • Stories & Guides
  • Facts & Tips
  • Brains & Minds
  • Languages
  • Education
  • Hire me!
  • Contact
You are here: Home / Brains & Minds / รู้หลาย ภาษา กับ สมอง ที่ต่างกัน

รู้หลาย ภาษา กับ สมอง ที่ต่างกัน

March 10, 2016 By KaiMook McWilla Malany 1 Comment

 

เป็นที่รู้กันว่า รู้สองภาษามักได้เปรียบกว่ารู้หนึ่งภาษา อย่างแน่นอน ทั้งดูหนังได้มากเรื่องกว่า อ่านหนังสือได้หลายเล่มกว่า ในภาษาที่ตนรู้ เป็นการเปิดโลกเปิดโอกาสให้กับตัวเอง ไหนจะสนทนากับใครได้กว้างขวางกว่า เดินทางไปต่างประเทศก็มีโอกาสได้เรียนรู้ และสื่อสารกับคนท้องถิ่นมากกว่า และประโยขน์จิปาถะอีกมากมายนับไม่ถ้วน

แล้วเคยสงสัยไหมคะว่า …

 

สมองของทั้งสองกลุ่มต่างกันไหม?

ระบบการทำงานต่างกันรึป่าว?

การพัฒนาการล่ะ เร็วช้าต่างกันอย่างไร?

 

ภาพจาก TEDEd: Mia Nacamulli

 

คำตอบก็คือ

สมองทางกายภาพต่างกัน จากภาพการสแกนสมอง นักวิจัยพบว่าสมองผู้รู้สองภาษามีสมองเนื้อสีเทา (gray matter) มากกว่า สมองส่วนนี้มีลักษณะเป็นลอนเป็นท่ีอยู่ของเซลล์ประสาท มีหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อ พวกการมองเห็น ได้ยิน และความจำ

ด้วยเหตุนี้เองคนกลุ่มนี้จึงมีระบบสัมผัสหรือเซนส์ที่ดีกว่า มีความจำที่เริ่ดหรูกว่าผู้รู้หนึ่งภาษา (monolinguals)

แต่ไม่เพียงเท่านี้นะคะ ผู้รู้สองภาษายังเรียนภาษาอื่นๆ ได้ง่ายและดีกว่าผู้รู้หนึ่งภาษาอีกด้วย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าพื้นที่หรือปริมาณเนื้อที่ในสมองที่เชื่อมโยงกับภาษามีมากกว่าปกติ อีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าระบบการทำงานของสมองต่างกันกับระบบสมองของผู้รู้ภาษาเดียว

 

หมายความว่าอย่างไร?

สมองของเราแบ่งออกเป็นสองซีกค่ะ คือ ซ้ายกับขวา

  • สมองซีกซ้ายควบคุมดูแลด้านภาษา การคิดวิเคราะห์ และการใช้เหตุผล
  • ขณะที่ซีกขวาเน้นควบคุมอารมณ์

ด้วยความที่ความยืดหยุ่นของสมองผู้รู้สองภาษาดีกว่าผู้รู้หนึ่งภาษา (เพราะมีส่วนเนื้อเยื้อสีเทามากกว่า) และการไหลเวียนของระบบในสมองเลยดีกว่าเลยทำให้สมองทั้งสองซีกของผู้รู้สองภาษาช่วยกันดูแลควบคุมด้านภาษา แต่สำหรับผู้รู้ภาษาเดียวนั้น การควบคุมของภาษามักอยู่แค่ซีกซ้ายเพียงซีกเดียว

การช่วยกันทำงานของสมองของผู้รู้สองภาษาจึงทำให้ความคิดไหลลื่นเป็นไปตามระบบมากขึ้น และสมองก็มีส่วนแบ่งเบาภาระมากขึ้น ที่สำคัญทำให้เป็นอัลไซเมอร์หรือสมองเสื่อมช้าลงอีกด้วย

 

รู้แบบนี้แล้ว

มีลูก มีหลาน ให้หมั่นเรียนภาษา

โตแล้วก็เรียนเพิ่มเติม ทนนิดทนหน่อย เพื่อความจำที่ดี

 

 


สำหรับบทความอื่นๆ เกี่ยวกับ สมอง ภาษา และความคิด คลิกที่นี่

 

 

Filed Under: Brains & Minds Tagged With: ภาษา, รู้สองภาษา, สมอง

Comments

  1. Amp says

    March 10, 2016 at 4:58 pm

    (y)
    อันนี้ดีงาม
    ทำให้มีกำลังใจในการเรียนภาษาที่สามต่อไป 5555
    แม้มันจะค่อยๆกระดิกได้วันละนิด เดือนละหน่อย 55

    Reply

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

KAIMOOK MALANY

ฉันโตมากับการไม่อยู่เป็นหลักแหล่ง ฉันสู้ ดิ้นรน ปรับตัว เป็นฉันในวันนี้ ที่ยิ้มเก่ง ช่างพูด กล้าถาม ชื่นชอบการพบปะผู้คน รักการเรียนรู้ หลงรักการผจญภัย และอยู่อย่างสันโดษได้ นอกจากจะเพราะครอบครัวที่รักและคอยให้การสนับสนุนฉันแล้ว ส่วนหนึ่งยังเป็นเพราะตัวฉันที่ไม่ชอบอยู่นิ่ง (wander) สิ่งที่ฉันได้เจอ ศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้เป็นความน่าหลงใหล (wonderful) ที่ฉันอยากจะแลกเปลี่ยนแบ่งปัน ทุกอย่างที่เขียนขึ้นกลั่นออกมาจากใจฉันเองค่ะ (minds)

Join the Social Conversation

  • Facebook
  • Instagram
  • Pinterest

Copyright © 2015-2019 · Squiddy Productions · This site powered on interstellar cognitions · Privacy