
(ภาพจากกูเกิล)
เคยสงสัยไหมคะว่าทำไมบางทีเวลาจะพูดแล้วพูดไม่ออก รู้แน่ชัดว่าจะพูดอะไรแต่ดึงคำมาพูดออกมาไม่ได้ รู้สึกเหมือน “มันติดอยู่ที่ปาก” (Tip-of-the-tongue)
ลักษณะทั่วไปของอาการแบบนี้คือเราให้คำนิยามได้ อธิบายได้แน่ชัดว่าจะพูดอะไร แต่กลับนึกคำนั้นไม่ออก แต่พอมีคนพูดคำศัพท์นั้นขึ้นมา เราก็ตอบว่า “ใช่ๆ คำนั้นแหละ”
เป็นเพราะอะไรกันแน่นะ
คำตอบคือ หากไม่ได้เป็นบ่อยจนสังเกตุเห็นได้ชัด มันเป็นอาการปกติค่ะ เป็นเรื่องการควานหาคำศัพท์ในสมองที่เราอาจหลงลืมบ้างเป็นธรรมดา แต่ถ้าเป็นบ่อยมากเกินปกติ ต้องย้ำนะคะว่าบ่อยมาก คราวนี้ล่ะเริ่มน่ากลัวแล้ว คำอธิบายมี 2 กรณี คือ
- Anomic Aphasic หรือ ภาวะหลงลืมภาษาชนิดหนึ่งที่มักเกิดกับคำศัพท์ กลุ่มคำนาม (คน สัตว์ สิ่งของ) หรือกลุ่มคำกริยา (ส่วนใหญ่เกิดกับคำนาม) กรณีนี้เกิดจากผู้ป่วยที่เคยมีภาวะเส้นเลือดในสมองแตก/ตีบ (stroke) หรือเกิดอุบัติเหตุทางสมองมาก่อน ถ้าสแกนสมองจะเห็นว่ามีรอยโรค (lesion) ในสมองด้วย ภาษาบ้านๆ คือ รอยแผลที่สมอง
- Primary Progressive Aphasia Syndrome อันนี้เป็นภาวะหลงลีมภาษาเช่นกันค่ะ อาการคล้ายกันกับข้อข้างบนเลย แต่เป็นผลจากระยะยาว ค่อยๆ เกิดขึ้นวันละนิดวันละน้อย เกิดจากการเสื่อมของสมองเอง คล้ายๆ กับอัลไซเมอร์หรือสมองเสื่อมนั่นแหละค่ะ
ถามว่าป้องกันได้ไหม
ถ้าเป็นลักษณะนึกคำไม่ออกแบบทั่วไป ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโรคทางสมองแต่อย่างใดแล้ว อันนี้คงทำอะไรไม่ได้ค่ะ คงต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องปกติ

(ภาพจากกูเกิล)
แต่หากเกิดจากสมองเสื่อม (กรณีที่ 2) ป้องกันได้โดยการทานผัก ผลไม้ โดยเฉพาะพวกเบอร์รี่ทั้งหลาย ทานปลาเยอะๆ พวกแซลมอน และทานอาหารให้ครบห้าหมู่ ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ
ถ้าไม่ได้มีอาการเยอะเกินปกติ ไม่ต้องห่วงนะคะ เป็นเรื่องธรรมด๊า ธรรมดา
คลิกที่นี่สำหรับบทความอื่นๆ เกี่ยวกับ สมอง ภาษา และความคิด
Leave a Reply