ปัจจุบันศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาภาษาศาสตร์คลินิก โปรแกรมอีราสมุส มุนดุส (Erasmus Mundus Masters Programme in Clinical Linguistics (EMCL))
(Mr. Intelligence)
สาขาที่เรียนเป็นวิชาประยุกต์ระหว่างวิทยาศาสตร์ คือ วิทยาศาสตร์การแพทย์และวิทยาศาสตร์ปริชาน (สมอง) กับสังคมศาสตร์ ด้านภาษาศาสตร์จิตวิทยา ภาษาศาสตร์ปริชาน และภาษาศาสตร์คลินิก
ถ้างงๆ กันบ้างก็ไม่ต้องแปลกใจนะคะ ที่ไทยไม่มีหลักสูตรนี้
รายวิชาที่เรียน คร่าวๆ
- Autism and Languages
- Psycholinguistics
- Neurolinguistics
- Automatic Speech Recognition
- Language Changes in Neurodegenerative Diseases
- Speech Synthesis
- Acoustic Assessment of Speech Disorders
- Brain Imaging
เรียนสถิติ เรียนวิทยาศาสตร์ พวกชีวะ โครงสร้างสมองอะไรทั่วไปค่ะ เพื่อเอามาประยุกต์กับสาขาภาษาศาสตร์ ที่ฉันสนใจคือภาษากับสมองเป็นหลัก
ดังนั้น สิ่งที่ฉันเน้นศึกษา ก็คือ
- โรคทางสมอง (อัลไซเมอร์ สมองเสื่อม ภาวะสูญเสียการสื่อความ พาร์กินสัน และอื่นๆ)
- การพัฒนาการของสมองในภาษา
- ความสัมพันธ์ของสมองกับภาษา
- เรียนภาษาอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด (ศึกษาจากภาพสแกนสมอง)
- ออทิสติก
- การสแกนสมอง
- การรับรู้ภาษาของเด็ก/ผู้ใหญ่/ผู้รู้สองภาษา
เนื่องด้วยเป็นโปรแกมของอีราสมุส ฉันจึงต้องย้ายประเทศไปเรื่อยๆ ทั้งหมด 4 ครั้ง 3 ประเทศ คือ
- ประเทศฟินแลนด์
- ประเทศเยอรมัน
- ประเทศเนเธอร์แลนด์
ย้ายครั้งสุดท้ายคือไปประเทศที่จะทำวิจัย
ทำไมต้องย้าย
อันนี้เป็นรูปแบบปกติของอีราสมุสนะคะ โปรแกรมนี้เน้นให้ผู้เรียนเรียนให้ได้ประโยชน์และเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด จึงคัดสรรค์มหาวิทยาลัยชั้นนำในยุโรปที่เด่นด้านนั้นๆ ให้ผู้เรียนได้ศึกษาจากแหล่งที่ดีที่สุดจากหลายประเทศมากที่สุดเพื่อเรียนรู้ทั้งเนื้อหาเกี่ยวกับสาขาวิชา ภาษา ผู้คนและวัฒนธรรม
เนื่องด้วยเทรนด์ภาษากำลังมาแรง และการศึกษางานวิจัยด้านสมองกำลังเป็นที่สนใจ ฉันจึงขอแบ่งปันความรู้และสาระด้านสมองกับภาษาและความคิดลงในเว็บไซต์นี้ด้วย แยกออกมาต่างหากจากบทความ ประสบการณ์การท่องเที่ยวและชีวิต
- หากสนใจเกี่ยวกับสมองและภาษา ติดตามได้ที่พาร์ท Brains & Minds นะคะ
- แต่หากสนใจเรียนภาษาฟรีๆ ก็ไปที่ Languages ได้เลยค่า 😉
Leave a Reply