ข้อแถลงไข “อยากจำกลับลืม อยากลืมกลับจำ” กับกลไกการทำงานของสมอง

Observer: Association for Psychological Science
หลายคนมีปัญหาท่องศัพท์ ท่องยังไงก็จำไม่ได้ บางที ท่องแล้วจำได้ อีกสองนาที ห้านาที ก็ลืม หรือ บางทีคิดว่าจำได้แน่นอน ตื่นขึ้นมาก็ลืม จำไม่ได้อีกละ?!!!?!
“ทำไมนะ สมองเราเป็นอะไร ทำไมมันต้วมเตี้ยมจำอะไรช้าเหลือเกิน เรื่องที่ไม่อยากจำนี่กลับจำได้จำดี” คุณอาจสงสัย
คุณไม่ได้โง่นะคะ
แต่คำตอบของมันอยู่ที่ ระบบกลไกความจำสมอง ต่างหาก
หากแบ่งความจำออก ตามระยะเวลาที่ความจำนั้นๆ คงอยู่กับเรา สามารถแบ่งออกได้ 3 แบบ คือ
- ความจำชั่วขณะ (immediate memory)
- ความจำระยะสั้น (short term memory)
- ความจำระยะยาว (long term memory)
ความจำชนิดแรก คงอยู่กับเราเพียงเศษเสี้ยววินาที เป็นเพียงการรับรู้ผ่านๆ เท่านั้น น้อยมากจนฉันคิดว่า อย่าจำแนกมันเป็นความจำเลย ลักษณะของความจำชนิดนี้ คือ การมองเห็น ได้ยิน สัมผัส เช่น ภาพที่เราเห็นอยู่ตรงหน้า อาจจะตอนข้ามถนน ขับรถสวนกับคันอื่น หรือ เดินผ่านใครสักคน จะสังเกตุได้ว่าส่วนใหญ่เราจำไม่ได้หรอกค่ะ ว่ารถที่เพิ่งผ่านไปรุ่นไหน ยี่ห้ออะไร มีอะไรอยู่ตรงหน้าเราหรือเปล่า หรือคนที่เพิ่งผ่านหน้าเราไปใส่เสื้อสีอะไร นั่นเป็นเพราะเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับมัน
แบบที่สอง คงอยู่เป็นเวลาประมาณครึ่งนาทีได้ ในความเป็นจริงแล้ว ความจำชนิดนี้ก็ยังถือว่าสั้นอยู่ดี มันพอช่วยให้เราจำได้เพียงชั่วประเดี๋ยว เช่น จำหมายเลขโทรศัพท์ ที่เพิ่งมีคนบอกเรามา (โดยปกติสมองส่วนที่ควบคุมความจำระยะสั้นเอื้อให้เราจำตัวเลขได้ประมาณ 7 หลัก ไม่งั้น มีมึน! ด้วยเหตุนี้ เลขโทรศัพท์ส่วนใหญ่ จึงมีแค่ 7 หลัก ยังไงล่ะคะ แบ่งออกเป็น 3-4 หรือ xxx-xxxx เพื่อ เอื้อต่อการประมวลผล ในสมอง หากเลขมีมากกว่า 7 อาจแบ่งเป็น 3-3-4 หรือ xxx-xxx-xxxx เหมือนเลขโทรศัพท์ กับ หมายเลขประเทศ)
และ แบบสุดท้าย คงอยู่ได้นานเป็นเดือนเป็นปี เช่น เรื่องราวต่างๆ ที่เราจำได้ดีและสามารถดึงกลับมาเล่ามาคิดได้ตลอดเวลา เพราะมัน ฝังลงไปในสมอง เรียบร้อยเป็นความจำระยะยาวแล้วแล้ว
คีเวิร์ดตรงนี้ คือ ฝัง ค่ะ
คำถามต่อมาคือ จะทำให้ ความจำเหล่านี้ ฝังลึกลงไป เป็นความจำระยะยาว ได้อย่างไร
อันนี้ เราต้องทำความเข้าใจก่อนค่ะว่าสมองมนุษย์เก็บความจำแต่ละแบบในส่วนที่ต่างกัน การทำงานของสมองและการสร้างความจำเลยต่างกันออกไปด้วย นั่นคือ … (ขออธิบายแบบพื้นฐานเอาง่ายๆ เลยนะ)
ความจำแบบแรกกับแบบระยะสั้น จะถูกจัดเก็บใน คอร์เท็กซ์ ขณะที่แบบสุดท้าย หรือความจำระยะยาว ถูกจัดเก็บที่ ฮิปโปแคมปัส (หากเคยอ่านบทความอื่นๆ ในส่วน Brains&Minds ของฉัน คงคุ้นเคยดีนะคะว่าฮิปโปแคมปัสมีความสัมพันธ์กับความจำโดยตรง)
กระบวนการ ของความจำ และสมองมีหลักการง่ายๆ คร่าวๆ คือเมื่อเรื่องราวต่างๆ ผ่านเข้ามา มันจะเข้าไปอยู่ที่คอร์เท็กซ์ จากนั้นก็ค่อยๆ ถูกลำเลียงไปที่ฮิปโปแคมปัส ซึ่งมีโปรตีนที่คอยช่วยให้เซลล์ประสาทประสานงานร่วมกันเพื่อสร้างความทรงจำ แต่ความจำนั้นจะไม่ถูกจัดเก็บหาก
- 1) ไม่กล้าแกร่งหรือมีอิทธิพลมากพอ หรือ
- 2) ไม่ได้นำมาใช้บ่อยๆ
(ด้วยเหตุนี้เอง ความจำพวกเหตุการณ์สะเทือนใจต่างๆ ที่เราอยากลืมเราจึงลืมมันไม่ได้ พออยากลืมก็เสมือนเราย้อนกลับไปคิดถึงมัน ดึงมันออกมาใช้เป็นการย้อนคิด กลายเป็นว่าเรากำลังทบทวนเหตุการณ์นั้นๆ เพราะความจำนั้นๆ มัน “กล้าแกร่ง” ยังไงล่ะค่ะ
ดังนั้นจะไปว่าคนที่กำลังโศกเศร้า ไม่ให้คิดเรื่องนู่นนั่นนี่มาก ก็คงไม่ได้ เพราะ เขาและเธอ มัวแต่ย้อนคิดเรื่องราวต่างๆ ยิ่งทำให้มันติดตรึงเข้าไปในระบบสมองกว่าเก่า สิ่งเดียวที่ทำได้คือหาอย่างอื่น กิจกรรมอื่นมาให้คิด ให้ทำแทน)
จากนั้นเมื่อความจำได้เข้าไปอยู่ในฮิปโปแคมปัสแล้ว
- มันอาจจะกลับไปสู่คอร์เท็กซ์อีกครั้ง กลายเป็นคลังความจำถาวร หรือความจำระยะยาว หรือ
- อาจจะหายไปเลย หากไม่มีการทบทวน หรือนำกลับมาใช้อีก
ด้วยกระบวนการดังกล่าว เวลาเรียนอะไรใหม่ๆ ไม่ว่าจะเรียนภาษา หรืออ่านตำราอะไรก็ดี อ่านครั้งแรกอาจรู้สึกผ่านๆ จำไม่ได้ อ่านครั้งต่อมา บางทีเราอาจรู้สึกว่าจำได้แล้ว แต่สักพักก็ลืม บางที อาจจำได้นานพอสมควร แต่ผ่านไปวันสองวันกลับลืมอีกครั้ง นั่นเป็นเพราะสมองของเรายังไม่ได้นำความจำนั้นไปจัดกลับที่แหล่งความจำถาวร
การเรียนภาษา อาจลืมในช่วงแรกๆ แต่หากท่องจำไปเรื่อยๆ อ่านบ่อยๆ ฝึกบ่อยๆ พอความจำคงที่ได้ผ่านการทบทวนแล้วมันจะฝังรากลึกอยู่ในคลังความจำระยะยาวในสมองเราเองค่ะ
จากนั้นแล้วไม่ว่าเราจะอยากลืมแค่ไหน เราก็จะไม่ลืมมัน ย้อนทวนนิดหน่อย มันจะกลายเป็นมิตรแท้ที่ตามอยู่คู่คุณไปทุกที่ ไม่ทิ้งให้คุณอยู่ตัวคนเดียวแน่นอน 🙂
คลิกที่นี่สำหรับบทความอื่นๆ เกี่ยวกับ สมอง ภาษา และความคิด
*บทความนี้เขียนให้คุณป๊าป๊า ที่มักถามคำศัพท์เดิมฉันตลอด 555
ได้ฟีลมากเลย
กำลังอ่านสอบไฟนอลเกาหลีพอดีเป๊ะ555555
เราว่ามันโอเคนะ เราเข้าใจเรื่องงี้ มันก็เข้าใจได้อยู่ บางคำมันอาจจะรู้สึกไปเองว่าเหมือนยาก
แต่ถ้าไม่ใช่คำนี้ มันก็ไม่สามารถแทนความหมายได้อีกนั้นแหละ
สมมติว่านั่งพูดให้เพื่อนฟัง:)
แค่นั้นก็โอเคแล้ว
อาจจะต้องระวังพิมพ์ผิดนิดหน่อยประปราย